วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

พระลือหน้ายักษ์ กรุลำพูน ที่พบ 1 ใน 50 องค์

 

พระลือหน้ายักษ์ กรุลำพูน ที่พบ 1 ใน 50 องค์

พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองลำพูน บนฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงาย มีเส้นประภามณฑลรอบพระเศียรและองค์พระ ผนังด้านหลังองค์พระประดับตกแต่งด้วยใบโพธิ์จริง เช่นเดียวกับพระลือหน้ามงคล, พระเปิม, พระคง, พระบาง และพระรอดหลวง ด้านหลังองค์พระเครื่อง เรียบแบบไม่สม่ำเสมอ มีลายมือตกแต่งเนื้อดิน พระลือหน้ายักษ์เท่าที่พบมีประมาณ 50 องค์

1. องค์พระเป็นดินเผา สีผิวไผ่แห้ง พื้นผิวเคลือบบางๆ ด้วยดินกรุสีเข้มกว่าเนื้อใน สร้างด้วยดินกรองละเอียดผสมผงและกรวดเล็กน้อย ขนาดกว้างฐาน 2.2 ซม. สูง 4.1 ซม. ขอบข้างองค์พระยกเว้นฐานชั้นล่าง ตกแต่งเรียบคมเหมือนคมมีด

2 ยุคสมัยการสร้าง พระลือหน้ายักษ์ เป็นรักร่วมสมัยทวาราวดี (เริ่มแตกพุทธศตวรรษที่ 10-11) แยกเป็นศิลปะหริภุญชัย (จังหวัดลำพูน) ล้อแบบหรือจำลองศิลปะอินเดียยุคสมัยคุปตะ พุทธศตวรรษที่ 9-11 พระลือหน้ายักษ์ สร้างในยุคแรกระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-16 มีอายุการสร้างถึงปัจจุบันราว 1100 ถึง 1300 ปี

3 ผู้สร้าง กลุ่มชนซึ่งใช้อักษรมอญโบราณและภาษามอญอยู่ในจังหวัดลำพูน (หริภุญชัย) นับถือพุทธศาสนา ใช้ภาษาบาลีเป็นหลักมีกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรหริภุญชัย โบราณอย่างอิสระไม่อยู่ใน อำนาจของชนกลุ่มใด การใช้วัน-เดือน-ปีเหมือนกับที่ใช้อยู่ในอินเดียตั้งแต่สมัยราชวงศ์คุปตะ และราชวงศ์ปาละ กลุ่มชนมอญโบราณนี้ เป็นผู้สร้างพระลือหน้ายักษ์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-16

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันเป็นเยี่ยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น