วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

พระเลี่ยงหลวง กรุเก่า พิมพ์ใหญ่พิเศษ แบบซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ลำพูน

 

พระเลี่ยงหลวง กรุเก่าพิมพ์ใหญ่พิเศษ แบบซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรภายในซุ้มเรือนแก้ว อันเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองลำพูน ยอดซุ้มเป็นรูปปราสาทเหมือนนครวัดของขอมโบราณลักษณะของพระพุทธรูป ถือแบบอย่างสมัยทวาราวดีคร่าวๆดังนี้ เกศพระมาลาเป็นต่อมใหญ่ สั้นและป้าน ไม่มีไรพระศก พระขนงยาว พระพักตร์ยาวแบบหน้าชาวอินเดีย พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน จีวรแนบชิดติดพระองค์ ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ รองรับกลีบบัวหงายบนฐานบัวลูกแก้ว ชั้นล่างเป็น ชั้นล่างเป็นเศียรช้างสามเชือก ด้านขวาองค์พระเป็นพระสารีบุตร ด้านซ้ายเป็นพระโมคคัลลานะ นั่งชันเข่าบนผ้าปูรองนั่ง ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วสามชั้น ภายในกรอบเส้นสามเหลี่ยมหน้าจั่วทรงสูง ประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆตามขอบเส้นด้านหลังองค์พระเครื่อง อูมนูน มีลายมือกดแต่งเนื้อดินโค้งลงขอบเส้นสามเหลี่ยมด้านหน้าองค์พระเครื่อง

1. องค์พระเป็นดินเผาสีแดงอมชมพู พื้นผิวหน้า-หลัง เคลือบบางๆ ด้วยดินกรุสีพิกุล(แดงอมน้ำตาล) สร้างด้วยเนื้อดินกรองละเอียดผสมผง ขนาดกว้างฐาน 4 ซม. สูง 6.5 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง พระเลี่ยงหลวงเป็นพระร่วมสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 10-17) แต่แยกเป็นศิลปะยุคสมัยหริภุญชัย(พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระเลี่ยงหลวงพิมพ์นี้ได้รับถ่ายทอดมาจากศิลปะทวาราวดี รุ่งเรืองอยู่ที่ จ.นครปฐม ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะของชาวอินเดียภาคใต้ นับถือพุทธศาสนาคติมหายาน อายุการสร้างไม่เกินพุทธศตวรรษที่17 (ประมาณ 1,000 ปี)พระเลี่ยงหลวงเป็นพระเครื่องสกุลลำพูนหริภุญชัย องค์ค่อนข้างเขื่อง พบจากกรุวัดประตูลี้เป็นครั้งแรกพร้อมกับพระเลี่ยงพิมพ์นิยม นอกจากนี้ยังมีผู้พบพระเลี่ยงหลวงที่กรุวัดอื่นๆอีก

3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณใช้อักษรมอญโบราณและภาษามอญอยู่ในจ.ลำพูน(หริภุญชัย) เป็นผู้สร้างบรรจุกรุไว้ ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนาและราชวงศ์กษัตริย์แห่งหริภุญชัยนครสิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 17

พุทธคุณ เมตตามหานิยม ด้านแคล้วคลาดดีเช่นเดียวกับพระรอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น