วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

พระปรุหนังบัวเบ็ด พิมพ์ที่2 ชินเงิน กรุวัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา

 


พระปรุหนังบัวเบ็ด พิมพ์ที่2 ชินเงิน กรุวัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา

พุทธลักษณะ องค์พระประธานองค์กลางประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย บนฐานสำเภาบัวเบ็ด 2 ชั้น(ฐานประทับที่ปรากฏอยู่ในรูปคล้ายสำเภานั้น สำเภาเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง จะมีเส้นขีดทแยงบนและอีกแถวหนึ่งขีดทแยงล่างนั้น เรียกว่า บัว 2 ชั้น) ภายในซุ้มเรือนแก้ว ช่วงบนของซุ้มทั้งสองข้างจะปรากฏลวดลายช่อชัยพฤกษ์หลายเส้นวิ่งม้วนตัวไปบรรจบกันที่จุดยอดเหนือพระเศียร เปลวเส้นดังกล่าวนี้เองตรงกลางระหว่างริมข้างองค์พระพุทธ จะมีเส้นวิ่งลงมาม้วนตัวเป็นรูปประภามณฑลครอบเศียรองค์พระพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ยืนพนมมืออยู่ด้านขวาและซ้ายอยู่ในพิมพ์นี้อย่างเด่นชัด ด้านหลังองค์พระเครื่องแบนเรียบ

1. องค์พระปรุหนัง เป็นพระมีศิลปะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างแบบฉลุโปร่ง แลดูคล้ายแบบของหนังตะลุงที่สร้างด้วยหนังวัวหรือหนังกระบือ ลายเส้นจะเท่ากันทั้งซ้ายขวา สร้างด้วยชินเงิน ผิวสนิมสีดำอมเทา พระปรุหนังหล่อบางมาก จึงหาองค์พระที่สมบูรณ์ได้น้อย ที่ไม่มีชำรุด ใช้แว่นขยายส่องดูมักจะพบรอยร้าวแถวพระศอพระทั้ง 3 องค์เลยก็มี พระหล่อด้วยพิมพ์ประกบ เมื่อหล่อเสร็จแล้วแกะออกจากแม่พิมพ์ จะสกัดเนื้อชินตรงชนวนด้วยของมีคม ด้านล่างสุดขององค์พระ พระปรุหนังบัวเบ็ดสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้างฐาน 4 ซม.สูง 5 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง พระปรุหนังพิมพ์บัวเบ็ดเป็นพระเครื่องประเภทปราณีตศิลป์ กำเนิดเมื่อพ.ศ. 1896 สมัยอยุธยายุคต้น อายุถึงปัจจุบันราว 700 ปี ที่ จ.อยุธยานี้เป็นกรุต้นกำเนิดของพระสกุลนี้ ที่งดงามกว่าและมีอายุสูงกว่ากรุอื่นที่สร้างแบบตามอย่างภายหลังทั้งหมดทรงอพยพที่ ต.เวียงเหล็ก

3. ผู้สร้าง จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ราวปีพ.ศ. 1835 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว โปรดให้สร้างวัดเป็นพุทธบูชา และพระอนุสรณ์ ณที่ตั้งพลับพลาที่ประทับ เพื่อทรงอพยพที่ ต.เวียงเหล็ก เมื่อปีพ.ศ. 1896 คือวัดพุทไธสวรรค์ บรรจุกรุพระปรุหนังบัวเบ็ดชินเงิน(ชินกรอบ)

พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น