วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์หน้าเทวดา (สิบเอก) สุพรรณบุรี
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์หน้าเทวดา (สิบเอก) สุพรรณบุรี
พุทธลักษณะ ประทับนั่งราบ ปางมารวิชัย ภายในประภามณฑลซุ้มเรือนแก้วเป็นเส้นลวดเส้นเดี่ยวเป็นรัศมีตามรูปองค์พระ
ขอบซุ้มส่วนบนประดับด้วยใบระการูปดอกบัวตูม
องค์พระมีพระวรกายผอมเรียว พระเศียรกลม พระเกศาเรียบ
พระเมาลีเป็นมวยสองชั้น พระเกศรูปดอกเข็มตูม ไรพระศกเป็นกรอบพระพักตร์ ปรากฏพระขนง
พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ พระกรรณรูปบายศรียาวจรด พระอังสา พระอุระกว้าง
พระอุทรคอด ครองจีวรห่มคลุมเปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดยาวถึงพระนาภี
พระพาหา-พระกรขวาทอดลง พระหัตถ์ประคองกุมพระชานุลักษณะเข่าใน
พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งราบ พระชงฆ์ขวาวางบนพระชงฆ์ซ้ายลักษณะลอยองค์ไม่มีอาสนะ
กรอบรูปสามเหลี่ยมกลีบบัว
1.วัสดุใช้สร้าง
พระพิมพ์เนื้อละเอียดดินป่นละเอียดเต็มไปด้วยแร่ดอกมะขามเป็นหลัก
การกรองดินเป็นชั้นหนึ่งผสมกับว่าน ใส่กาวและน้ำนวดเข้ากันให้อ่อน
เหนียวข้นเหมือนดินน้ำมัน ปั้นกดลงแม่พิมพ์แคะออกปาดขอบข้าง ตากให้แห้ง
เผาไฟอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดง เนื้อละเอียด แข็งแกร่ง
ผิวเป็นคลื่นเห็นจะทั่วไป แร่ดอกมะขามเป็นจุดเท่าปลายเข็มกระจายทั่วองค์พระ
มีกรวดแร่ลอยบนผิวบางตาไม่มากเหมือนพระเนื้อหยาบ ผิวหนึกนุ่ม คราบไคลขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีเหลืองอ่อนนวลติดตามซอกลึกและเคลือบติดด้านหลังบางๆ
ด้านหลังแบนเป็นคลื่นมีรอยเสี้ยนไม้เป็นเส้นยาว กรวดเม็ดเล็กจมผิวเป็นผด
ขนาด กว้างฐาน 3 ซม. สูง 5 ซม. หนาขอบ 6 มม.
2.ยุคสมัยศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์สมัยอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 22 อายุราว 400 ปี
สร้างในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
อุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารหาญที่เสียชีวิตในการศึกสงครามกับทัพพม่า
สมัยทำยุทธหัตถีบนหลังช้างกับพระมหาอุปราชาที่ยกทัพเข้ามารุกราน บรรจุกรุ ณ
วัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี
พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์ทรงพลใหญ่ สุพรรณบุรี
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์ทรงพลใหญ่ สุพรรณบุรี
พุทธลักษณะ ประทับนั่งราบ ปางสมาธิ พระวรกายอวบใหญ่
พระเศียรกลม พระเกศาเรียบ มวยพระเมาลีเป็นเป็นลอน พระเกศรูปดอกเข็มตูมเรียวแหลม
มีเส้นไรพระศกเป็นกรอบพระพักตร์ พระพักตร์รูปสามเหลี่ยมคางมน ปรากฏพระขนง พระเนตร
พระนาสิก และพระโอษฐ์ พระกรรณรูปบายศรียาวจรดพระอังสา พระอุระกว้างใหญ่ล่ำเหมือนนักกล้าม
พระอุทรเรียวคอดกิ่วครองจีวรห่มคลุมเปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดยาวถึงพระนาภี พระพาหาทั้งสองข้างทอดลงกางออก
หักพระกัประ พระกรพับเฉียงลง พระหัตถ์ประสานกันวางบนพระเพลา ประทับนั่งราบ พับพระชงฆ์ขวา
หงายพระบาทวางบนหัวเสาสูงระดับพระอังสา ฐานซุ้มเป็นกระจังหัวกนก
ประภามณฑลซุ้มเรือนแก้วเป็นเส้นคู่ยกขึ้นขยักเว้าตามรูปพระเศียร
ขอบซุ้มประดับด้วยใบระการูปกลีบบัว กรอบพระพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยม
ขอบข้างสอบขึ้นโค้งเป็นรูปสามเหลี่ยม
1.วัสดุใช้สร้าง ดินป่นละเอียดเต็มไปด้วยฝุ่นผงแร่ดอกมะขามเป็นหลัก
การกรองดินเป็นชั้นสองจึงมีกรวดแร่อยู่มาก ผสมเข้ากับว่าน ใส่กาวและน้ำนวดให้อ่อนเหนียวข้น
เป็นเนื้อเดียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อพอเหมาะกดลงแม่พิมพ์
ใช้แผ่นไม้กดคลึงให้แน่นเต็มพิมพ์ แคะถอดออกปาดขอบข้างด้วยของของมีคมสอบลงด้านหลัง
ตากในร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงส้ม เนื้อหยาบ
ผิวเรียบแข็งแกร่ง กรวดแร่ลอยบนผิวหนาตา แร่ดอกมะขามกระจายเป็นจุดสีแดงเท่าปลายเข็มทั่วไป
จุดโตจะกระจายเป็นวงแดงคราบไคลขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีเหลืองอ่อนนวลติดตามซอกลึกและมีราดำชนิดหนึ่งงอกเป็นเส้นยาวและเป็นแผ่นอยู่ทั่วไปด้านหลังแบนเรียบเป็นคลื่นมีลอยเสี้ยนไม้เป็นเส้นยาว
ขนาด กว้างฐาน 3.5 ซม. สูง 5.5 ซม. หนาขอบ 8 มม.
2.ยุคสมัยศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์สมัยอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 22 อายุราว 400 ปี พุทธศิลป์อยุธยาบริสุทธิ์ สร้างในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พ.ศ.2137 เป็นพระดินเผามีทั้งชนิดเนื้อหยาบและเนื้อละเอียดที่เนื้อนุ่มแล้ว
ยังลงรักปิดทองแต่ในกรุเลยก็มี
พระวัดบ้านกร่างสร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารหาญที่เสียชีวิตในการศึกสงครามกับกองทัพพระมหาอุปราชา
จึงทรงรับสั่งให้ทหารช่างศิลป์ที่ระดมมาในกองทัพและแกะแม่พิมพ์สร้างพระตามความสามารถของตน
พุทธลักษณะเป็นพระเดี่ยวก็มี คู่แฝดก็มีจำนนมากพิมพ์ ฝีมือจะแตกต่างกันบ้าง แต่ไม่ทิ้งเค้าศิลปะอยุธยาอันเป็นศิลปะยุคต้น
เมื่อสร้างเสร็จได้จำนวนมากตามต้องการแล้ว
ก็ให้คณาจารย์ผู้ทรงอภิญญาทำพิธีพุทธาภิเสก ทำบรรจุกรุวัดบ้านกร่าง
ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทรงกระทำยุทธหัตถี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)