วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

พระลือหน้ายักษ์ กรุลำพูน ที่พบ 1 ใน 50 องค์

 

พระลือหน้ายักษ์ กรุลำพูน ที่พบ 1 ใน 50 องค์

พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองลำพูน บนฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงาย มีเส้นประภามณฑลรอบพระเศียรและองค์พระ ผนังด้านหลังองค์พระประดับตกแต่งด้วยใบโพธิ์จริง เช่นเดียวกับพระลือหน้ามงคล, พระเปิม, พระคง, พระบาง และพระรอดหลวง ด้านหลังองค์พระเครื่อง เรียบแบบไม่สม่ำเสมอ มีลายมือตกแต่งเนื้อดิน พระลือหน้ายักษ์เท่าที่พบมีประมาณ 50 องค์

1. องค์พระเป็นดินเผา สีผิวไผ่แห้ง พื้นผิวเคลือบบางๆ ด้วยดินกรุสีเข้มกว่าเนื้อใน สร้างด้วยดินกรองละเอียดผสมผงและกรวดเล็กน้อย ขนาดกว้างฐาน 2.2 ซม. สูง 4.1 ซม. ขอบข้างองค์พระยกเว้นฐานชั้นล่าง ตกแต่งเรียบคมเหมือนคมมีด

2 ยุคสมัยการสร้าง พระลือหน้ายักษ์ เป็นรักร่วมสมัยทวาราวดี (เริ่มแตกพุทธศตวรรษที่ 10-11) แยกเป็นศิลปะหริภุญชัย (จังหวัดลำพูน) ล้อแบบหรือจำลองศิลปะอินเดียยุคสมัยคุปตะ พุทธศตวรรษที่ 9-11 พระลือหน้ายักษ์ สร้างในยุคแรกระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-16 มีอายุการสร้างถึงปัจจุบันราว 1100 ถึง 1300 ปี

3 ผู้สร้าง กลุ่มชนซึ่งใช้อักษรมอญโบราณและภาษามอญอยู่ในจังหวัดลำพูน (หริภุญชัย) นับถือพุทธศาสนา ใช้ภาษาบาลีเป็นหลักมีกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรหริภุญชัย โบราณอย่างอิสระไม่อยู่ใน อำนาจของชนกลุ่มใด การใช้วัน-เดือน-ปีเหมือนกับที่ใช้อยู่ในอินเดียตั้งแต่สมัยราชวงศ์คุปตะ และราชวงศ์ปาละ กลุ่มชนมอญโบราณนี้ เป็นผู้สร้างพระลือหน้ายักษ์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-16

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันเป็นเยี่ยม

พระปรุหนังบัวเบ็ด พิมพ์ที่2 ชินเงิน กรุวัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา

 


พระปรุหนังบัวเบ็ด พิมพ์ที่2 ชินเงิน กรุวัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา

พุทธลักษณะ องค์พระประธานองค์กลางประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย บนฐานสำเภาบัวเบ็ด 2 ชั้น(ฐานประทับที่ปรากฏอยู่ในรูปคล้ายสำเภานั้น สำเภาเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง จะมีเส้นขีดทแยงบนและอีกแถวหนึ่งขีดทแยงล่างนั้น เรียกว่า บัว 2 ชั้น) ภายในซุ้มเรือนแก้ว ช่วงบนของซุ้มทั้งสองข้างจะปรากฏลวดลายช่อชัยพฤกษ์หลายเส้นวิ่งม้วนตัวไปบรรจบกันที่จุดยอดเหนือพระเศียร เปลวเส้นดังกล่าวนี้เองตรงกลางระหว่างริมข้างองค์พระพุทธ จะมีเส้นวิ่งลงมาม้วนตัวเป็นรูปประภามณฑลครอบเศียรองค์พระพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ยืนพนมมืออยู่ด้านขวาและซ้ายอยู่ในพิมพ์นี้อย่างเด่นชัด ด้านหลังองค์พระเครื่องแบนเรียบ

1. องค์พระปรุหนัง เป็นพระมีศิลปะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างแบบฉลุโปร่ง แลดูคล้ายแบบของหนังตะลุงที่สร้างด้วยหนังวัวหรือหนังกระบือ ลายเส้นจะเท่ากันทั้งซ้ายขวา สร้างด้วยชินเงิน ผิวสนิมสีดำอมเทา พระปรุหนังหล่อบางมาก จึงหาองค์พระที่สมบูรณ์ได้น้อย ที่ไม่มีชำรุด ใช้แว่นขยายส่องดูมักจะพบรอยร้าวแถวพระศอพระทั้ง 3 องค์เลยก็มี พระหล่อด้วยพิมพ์ประกบ เมื่อหล่อเสร็จแล้วแกะออกจากแม่พิมพ์ จะสกัดเนื้อชินตรงชนวนด้วยของมีคม ด้านล่างสุดขององค์พระ พระปรุหนังบัวเบ็ดสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้างฐาน 4 ซม.สูง 5 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง พระปรุหนังพิมพ์บัวเบ็ดเป็นพระเครื่องประเภทปราณีตศิลป์ กำเนิดเมื่อพ.ศ. 1896 สมัยอยุธยายุคต้น อายุถึงปัจจุบันราว 700 ปี ที่ จ.อยุธยานี้เป็นกรุต้นกำเนิดของพระสกุลนี้ ที่งดงามกว่าและมีอายุสูงกว่ากรุอื่นที่สร้างแบบตามอย่างภายหลังทั้งหมดทรงอพยพที่ ต.เวียงเหล็ก

3. ผู้สร้าง จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ราวปีพ.ศ. 1835 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว โปรดให้สร้างวัดเป็นพุทธบูชา และพระอนุสรณ์ ณที่ตั้งพลับพลาที่ประทับ เพื่อทรงอพยพที่ ต.เวียงเหล็ก เมื่อปีพ.ศ. 1896 คือวัดพุทไธสวรรค์ บรรจุกรุพระปรุหนังบัวเบ็ดชินเงิน(ชินกรอบ)

พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์

พระเลี่ยงหลวง กรุเก่า พิมพ์ใหญ่พิเศษ แบบซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ลำพูน

 

พระเลี่ยงหลวง กรุเก่าพิมพ์ใหญ่พิเศษ แบบซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรภายในซุ้มเรือนแก้ว อันเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองลำพูน ยอดซุ้มเป็นรูปปราสาทเหมือนนครวัดของขอมโบราณลักษณะของพระพุทธรูป ถือแบบอย่างสมัยทวาราวดีคร่าวๆดังนี้ เกศพระมาลาเป็นต่อมใหญ่ สั้นและป้าน ไม่มีไรพระศก พระขนงยาว พระพักตร์ยาวแบบหน้าชาวอินเดีย พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน จีวรแนบชิดติดพระองค์ ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ รองรับกลีบบัวหงายบนฐานบัวลูกแก้ว ชั้นล่างเป็น ชั้นล่างเป็นเศียรช้างสามเชือก ด้านขวาองค์พระเป็นพระสารีบุตร ด้านซ้ายเป็นพระโมคคัลลานะ นั่งชันเข่าบนผ้าปูรองนั่ง ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วสามชั้น ภายในกรอบเส้นสามเหลี่ยมหน้าจั่วทรงสูง ประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆตามขอบเส้นด้านหลังองค์พระเครื่อง อูมนูน มีลายมือกดแต่งเนื้อดินโค้งลงขอบเส้นสามเหลี่ยมด้านหน้าองค์พระเครื่อง

1. องค์พระเป็นดินเผาสีแดงอมชมพู พื้นผิวหน้า-หลัง เคลือบบางๆ ด้วยดินกรุสีพิกุล(แดงอมน้ำตาล) สร้างด้วยเนื้อดินกรองละเอียดผสมผง ขนาดกว้างฐาน 4 ซม. สูง 6.5 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง พระเลี่ยงหลวงเป็นพระร่วมสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 10-17) แต่แยกเป็นศิลปะยุคสมัยหริภุญชัย(พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระเลี่ยงหลวงพิมพ์นี้ได้รับถ่ายทอดมาจากศิลปะทวาราวดี รุ่งเรืองอยู่ที่ จ.นครปฐม ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะของชาวอินเดียภาคใต้ นับถือพุทธศาสนาคติมหายาน อายุการสร้างไม่เกินพุทธศตวรรษที่17 (ประมาณ 1,000 ปี)พระเลี่ยงหลวงเป็นพระเครื่องสกุลลำพูนหริภุญชัย องค์ค่อนข้างเขื่อง พบจากกรุวัดประตูลี้เป็นครั้งแรกพร้อมกับพระเลี่ยงพิมพ์นิยม นอกจากนี้ยังมีผู้พบพระเลี่ยงหลวงที่กรุวัดอื่นๆอีก

3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณใช้อักษรมอญโบราณและภาษามอญอยู่ในจ.ลำพูน(หริภุญชัย) เป็นผู้สร้างบรรจุกรุไว้ ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนาและราชวงศ์กษัตริย์แห่งหริภุญชัยนครสิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 17

พุทธคุณ เมตตามหานิยม ด้านแคล้วคลาดดีเช่นเดียวกับพระรอด

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ 7 ชั้นนิยม พิมพ์เอ กรุวัดเกศไชโยวรวิหาร

 


พระสมเด็จ วัดเกศไชโย (วัดไชโยวรวิหาร) พิมพ์อื่นๆ





พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ 6 ชั้นอกตลอด กรุวัดเกศไชโยวรวิหาร

 


พระสมเด็จ วัดเกศไชโย (วัดไชโยวรวิหาร) พิมพ์อื่นๆ





พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ 6 ชั้นอกตัน กรุวัดเกศไชโยวรวิหาร(มีชำรุด)

 


พระสมเด็จ วัดเกศไชโย (วัดไชโยวรวิหาร) พิมพ์อื่นๆ





วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

พระยอดขุนพล เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

 


พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบภายในซุ้มรือนแก้วประดับตกแต่งบนขอบซุ้มด้วยลายกลีบทรงขนนก พระเศียรองค์พระทรงเครื่องแบบผมหวี ประดับมวยผมด้วยรัดเกล้าสามชั้น ฐานประดับทับเป็นบัวเล็บช้างสามกลีบใหญ่ชั้นเดียว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของพระยอดขุนพล ด้านหลังองค์พระเครื่องเรียบตัน มีลายผ้าเป็นริ้วเว้นใหญ่ตามขวาง

1. สร้างด้วยชินเงิน ผ่านกาลเวลายาวนานภายในกรุ ทำให้เกิดผิวดำอมเทา มีสนิมสีเขียวเป็นฝ้าบางๆ เป็นหย่อมๆ ทั้งด้านหน้าและหลัง หน้าตักองค์พระกว้าง 3 ซม. สูง 6.5 ซม.

2. ผู้สร้างองค์พระสร้างตามแบบศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16-19 มีอายุถึง 900-1,100 ปี คติมหายาน ช่างลพบุรีสร้างขึ้น อันเป็นระยะเวลาที่ขอมมีอำนาจ ขยายอาณาจักรเข้ามาในดินแดนภาคกลางของประเทศไทย และตั้งเมืองละโว้(ลพบุรี) เป็นเมืองใหญ่ควบคุมดินแดนภาคกลางไว้

พุทธคุณ แคล้วคลาด, คงกระพัน นับว่าไม่แพ้พระร่วงหลังลายผ้าเลย ให้ความรุ่งโรจน์อย่างอเนกประสงค์ทีเดียว และพิชิตภัยได้ครอบจักรวาล

พระนั่งซุ้มเรือนแก้ว เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

 


พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งภายในซุ้มเรือนแก้ว แบบพระยอดขุนพล ขัดสมาธิราบบนฐานบัวลูกแก้วสามชั้น พระเศียรทรงเครื่องเทริดขนนก ใส่ตุ้มหู กำไลรัดแขน ข้อมือและข้อเท้า
ด้านหลังองค์พระเครื่องเรียบตัน มีลายผ้าเป็นริ้วเส้นใหญ่ตามขวาง

1. สร้างด้วยชินเงิน ผ่านกาลเวลายาวนานภายในกรุ ทำให้เกิดผิวดำอมเทา มีฝ้าสนิมสีเขียวบางๆ เป็นหย่อมๆ ทั้งด้านหน้าและหลัง ขนาดกว้างฐาน 3 ซม. สูง 6.5 ซม.

2. ผู้สร้าง สร้างตามแบบศิลปลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16-19 มีอายุถึงปัจจุบัน 900-1,100 ปี คติมหายาน ช่างลพบุรีสร้างขึ้น อันเป็นระยะเวลาที่ขอมมีอำนาจ ขยายอาณาจักรเข้ามาในดินแดนภาคกลางของประเทศไทย และตั้งเมืองละโว้(ลพบุรี) เป็นเมืองใหญ่ควบคุมดินแดนภาคกลางไว้


พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันและมหาอุตม์

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

สวัสดีปีใหม่ 2559


สวัสดี ปีวอก งอกเงินทอง
ให้เนืองนอง กองเต็มตุ่ม สุมเต็มไห
สุขภาพ ดี๊ย์...ดีย์จัง ทั้งกายใจ
อยากอะไร ได้สมอยาก ไม่ยากเย็น
  
สวัสดี ปีลิง ยิ่งเจริญ
ให้เพลิดเพลิน ดำเนินสุข ไม่ทุกข์เข็ญ
ทั้งคืนวัน ทุกเช้าสาย ยันบ่ายเย็น
ได้พบเห็น แต่คนดี มีเมตตา

สวัสดี ปีสองพันห้าร้อย ห้าสิบเก้า
ให้ยังเยาว์ อายุมั่น ขวัญยืนหนา
งานการคล่อง เป็นล่องน้ำ นำนาวา
เจรจา ให้สำเร็จ แล้วเสร็จการ

สวัสดี ปีสองพัน สิบหก
ไม่เข็นครก ขึ้นภูเขา ตามเล่าขาน
เหมือนปอกกล้วย เข้าปาก ทุกการงาน
สุขสำราญ ทั้งครอบครัว และตัวเอง.