วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่อกใหญ่ฐานเตี้ย ปางมารวิชัย ประทับนั่งภายในซุ้มเรือนแก้ว ลักษณะห้าเหลี่ยม สมเด็จพระพนรัตน์ พระเถระผู้ยิ่งใหญ่แห่งวัดป่าแก้ว เป็นผู้ให้กำเนิดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2135-2136 พร้อมกับพระเจดีย์องค์ใหญ่ชื่อ "ชัยมงคล" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ์แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในโอกาสได้รับชัยฃนะจากการทำ "ยุทธหัตถี" กับพระมหาอุปราชครั้งนั้น พระขุนแผนเคลือบ เป็นพระต้นสกุลพระพิมพ์ขุนแผนทั้งหมด

เนื้อพระ เป็นผงปูนขาวผสมเกสร 108 และดินผ่านการกรองอย่างดี แบบพระสมเด็จ วรรณะละเอียด สีขาวอมชมพู

ด้านหน้า เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีน้ำตาลแก่, เหลืองอมน้ำตาลไหม้แบบเซรามิค ตามซอกลึกจะสีเข้ม
1. น้ำยาเคลือบกับผงขาวซึ่งไม่ได้เผาไฟ ทำให้ผิวเคลือบกระเทาะแตกบิ่นง่าย องค์พระที่ฟอร์มสวยสมบูรณ์จึงมีน้อย
2. ผิวเคลือบแตกเป็นลายงาสังคโลกเส้นเล็กๆร้าวเป็นแผ่นๆ มีเหลี่ยมมุมติดต่อกันไปจากใต้ผิวที่ติดกับเนื้อพระ รานขึ้นมาด้านบน
3. ผิวที่ถูกเคลือบทุกองค์ ของแท้ลงรักปิดทองอีกชั้นหนึ่ง แต่ร่อนหลุดออกหมดแล้ว เหลือเพียงร่องรอย การปืดทองไว้

ด้านหลัง ไม่เคลือบน้ำยา มีลายมืออยู่ทั่วไป แต่น้ำยาจะเลอะมาบ้าง

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน รุ่งโรจน์กับผู้พกพา


พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ






วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เทวรูป "พระนารายณ์ ปางปาฏิหาริย์ปราบมาร" พระนารายณ์ 9 เศียร 16 กร กรุลพบุรี - ๑๕

 

เทวรูป "พระนารายณ์ ปางปาฏิหาริย์ปราบมาร" พระนารายณ์ 9 เศียร 16 กร ประทับยืนย่อเข่าเขย่งเท้าบนเหล่ามารที่นอนราบบนพื้นภายในซุ้มเรือนแก้ว ด้านขวาเป็นนาคปรก 7 เศียรปางสมาธิ ด้านซ้ายเป็นนางปรัชญาปรมิตา(อุมา)ประทับยืน ทั้งหมดอยู่บนฐานเรียบ 2 ชั้น  เป็นเทวรูปสมัยลพบุรี ตามแบบศิลปบายน คติมหายาน โดยช่างไทยดัดแปลงจากช่างขอมสมัยละโว้ 
เนื้อดินเผาสีอิฐ เนื้อดินละเอียดผสมผง 
ขนาดกว้างฐาน 5 ซม. สูง 6 ซม.

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เทวรูป "พระนารายณ์อวตาร" ประทับยืนย่อเข่าเขย่งเท้าบนเศียรหน้ากาล กรุลพบุรี - ๑๔

 

เทวรูป "พระนารายณ์อวตาร" ประทับยืนย่อเข่าเขย่งเท้าบนเศียรหน้ากาล พระหัตถ์ซ้ายและขวาโอบกอดหิ้วมกรข้างละ 1 ตน มีพญานาคผุดขึ้นจากเศียรหน้ากาลข้างซ้ายขวาด้านละ 1 ตัว มีเทพยืนย่อเข่าเขย่งเท้า ด้านซ้ายขวาหน้ากาลข้างละ 1องค์ ส่วนบนสุดมีแกนกลางเป็นดอกบัว และก้านบัวยาวจรดเศียรพระนารายณ์ ส่วนบนสุดซ้ายขวาเป็นรูปวัวข้างละ 1 ตัว รองลงมาเป็นรูปสิงห์ข้างละ 1 ตัว ต่างหันข้าง และหันหน้าเข้าหาแกนกลาง ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานเรียบย่อมุม 5 ชั้นภายในกรอบรูปใบหอก 5 ชั้น เป็นเทวรูปสมัยลพบุรี ตามแบบศิลปะบายน คติมหายาน โดยช่างไทยดัดแปลงจากช่างขอมสมัยละโว้
เนื้อดินเผาสีอิฐ เนื้อดินละเอียดผสมผง ส่วนยอดแหลมหักบิ่นมาแต่ในกรุ กรุลพบุรี 
ขนาดกว้างฐาน 8 ซม. สูง 14.5 ซม.
"อ้างถึงเทวรูปนารายณ์ทรงวัวในยุครัตนโกสินทร์"