พระเลี่ยง พิมพ์ใหญ่พิเศษ
แบบซุ้มเรือนแก้ว ยอดแหลม(ดินเผา)ขุดพบภายหลัง มีน้อยมาก
พุทธลักษณะ
ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายในซุ้มยอดแหลม เช่นเดียวกับพระเลี่ยงพิมพ์นิยม
ลักษณะองค์พระ
ทรงเครื่อง พระเศียรสวมพระมาลาเทริดนก พระกุณฑลระย้ายาวจดไหล่ สวมสร้อยสังวาล
ทรงจีวรห่มคลุมเปิดไหล่พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนตัก พระหัตถ์ขวาวางกุมหัวเข่า
ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายบนฐานเศียรช้าง 3 เชือก
ด้านซ้ายองค์พระเป็นพระโมคคัลลาน์ ด้านขวาเป็นพระสารีบุตร นั่งชันเข่าบนฐานเขียง
ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบสองชั้นรูปสามเหลี่ยมใบหอก ประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆตามขอบเส้น
ด้านหลัง บุบเบี้ยวตามการกดพิมพ์ด้วยนิ้วมือ
และปรากฏลายมือโดยทั่วไป ขอบองค์พระบางเหมือนคมมีด
1. องค์พระเครื่อง เป็นดินเผาเนื้อสีใบลาน
สร้างด้วยดินบดกรองละเอียดผสมว่าน
คราบกรุเป็นฝุ่นหินปูนสีขาวเคลือบอยู่ทั้งองค์
ส่วนด้านหลังจะมีราดำเคลือบอยู่ภายใต้คราบหินปูน ขนาดกว้างฐาน 3 ซม. สูง 5 ซม.
2. ยุคสมัยการสร้าง
เป็นพระเครื่องศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ 17 อายุราว 1,000 ปี ร่วมสมัยทวาราวดี
พุทธศาสนาคติมหายาน พบที่กรุวัดประตูลี้ จังหวัดลำพูนเป็นครั้งแรก โดยขุดพบภายหลัง
จึงมีจำนวนน้อยมาก
3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณ
อาศัยอยู่เมืองหริภุญชัย เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ ก่อนที่จะล่มสลาย
ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 17
พุทธคุณ
เมตตามหานิยม แคล้วคลาดดีพอๆกับพระรอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น