วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระเลี่ยง พิมพ์นิยม กรุวัดประตูลี้ ลำพูน แบบซุ้มเรือนแก้ว ยอดแหลม(ดินเผา)

 

พระเลี่ยง พิมพ์นิยม กรุวัดประตูลี้ ลำพูน แบบซุ้มเรือนแก้ว ยอดแหลม(ดินเผา)

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายในซุ้มยอดแหลม

ลักษณะองค์พระ ทรงเครื่อง พระเศียรสวมพระมาลาเทริดนก พระกุณฑลระย้ายาวจดไหล่ สวมสร้อยสังวาล ทรงจีวรห่มคลุมเปิดไพระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนตัก พระหัตถ์ขวาวางกุมหัวเข่า ประทับนั่งบนฐานบัวลูกแก้ว บนเศียรช้างสาม เชือก ด้านซ้ายองค์พระเป็นพระโมคคัลลาน์ ด้านขวาเป็นพระสารีบุตร นั่งชันเข่าบนฐานเขียง ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบรูปใบหอก ประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆตามขอบเส้น

ด้านหลัง เรียบมีลายมือกดแต่งเนื้อดินโค้งลงกรอบด้านหน้า กรอบบางคมเหมือนใบมีด ใต้ฐานล่างสุดกดพับเนื้อเกินไปด้านหน้า เช่นเดียวกับพระรอดพิมพ์ใหญ่

1. องค์พระเครื่อง เป็นดินเผาเนื้อสีใบลาน สร้างด้วยดินบดกรองละเอียดผสมว่านและกรวด คราบดินกรุสีเทาอยู่ตามซอกลึกด้านหน้า ขนาดกว้างฐาน 2 ซม. สูง 4 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง เป็นพระเครื่องศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ 17 อายุราว 1,000 ปี ร่วมสมัยทวาราวดี พุทธศาสนาคติมหายาน พบที่กรุวัดประตูลี้ จังหวัดลำพูนเป็นครั้งแรก 

3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณ อาศัยอยู่เมืองหริภุญชัย เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 17

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดดีพอๆกับพระรอด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น