พระเชตุพนบัวสองชั้น เนื้อชินเงิน
กรุหนองช้างเผือก หมู่ที่๑ ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ของสุโขทัยในปีพ.ศ.1935
บรรยายเหตุการณ์เมื่อครั้งก่อนที่พระรามคำแหงจะเสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย
ได้ติดตามพระราชบิดาคือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไปรบกับขุนสามชนที่เมืองตาก...
“เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาแต่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชน หัวซ้าย ขุนสามชนมาหันขวา
ขุนสามชนเคลื่อนเข้าไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างอเนกพล
กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้
ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน...”
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้เสวยราชย์ ณ กรุงสุโขทัยแล้ว
พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่ง ณ
ยอดดอยสูงตรงบริเวณที่พระองค์ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนสามชน
เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้น
บริเวณใกล้เคียงกับพระบรมธาตุเจดีย์ยุทธหัตถีอันเป็นที่มาของการพบกรุพระจำนวนมหาศาล
ณ หมู่ 1 ต.เกาะตะเภา มีนาล้อมรอบเป็นบริเวณกว้าง
แผ่นดินถิ่นนี้ชาวบ้านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หนองช้างเผือก” อันมีโบราณสถาน
โบราณวัตถุได้แก่ เจดีย์รายล้อมรอบทั่ว โบราณสถานเหล่านี้ฝังจมดินเป็นเวลาช้านาน
ศิลปะการสร้างเป็นสมัยสุโขทัย พระที่พบในกรุเป็นศิลปะลพบุรีและสุโขทัย ไม่มีสมัยอยุธยา
กำหนดได้ว่าเป็นการสร้างครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีอย่างแน่นอน
เมื่อวันที่ 1-10 สิงหาคม พ.ศ.2513
โบราณสถานเหล่านี้ถูกลักลอบขุดหาของมีค่า กว่าที่กรมศิลปากรจะรู้ พระบูชา
พระเครื่อง และวัตถุมีค่าทางประวัติศาสตร์ก็กระจัดกระจายไปอยู่กับชาวบ้านหมด มีพระบูชา
30 องค์ศิลปะลพบุรี ลังกา และสุโขทัย พระเครื่อง 3,000 องค์
เป็นพระเนื้อชิน(ผิวดำคล้ำ) พระเนื้อชินสนิมแดง 100 องค์ พระเนื้อดิน
ภาชนะที่บรรจุเป็นไหสมัยสุโขทัยใบใหญ่มาก พระเครื่องมีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น
พระร่วงนั่ง พระยอดขุนพล พระซุ้มยอสนิมแดง พระร่วงยืน พระเชตุพนบัวสองชั้น
และพระท่ามะปรางจำนวนหนึ่งเป็นพระดินเนื้อหยาบ
ศิลปะของพระในกรุเป็นศิลปะลพบุรีและศิลปะสุโขทัยรวมกันอยู่ในกรุ
อายุการสร้างไม่ต่ำกว่า 700 ปี
พุทธลักษณะ
พระสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นพระบูชาและพระเครื่อง ศิลปินผู้สร้างในยุคนั้นได้เข้าถึงหลักธรรมของพระพระพุทธองค์อย่างแท้จริง
จึงสามารถเนรมิตผลิตผลงานในด้านปฏิมากรรมออกมาได้อย่างวิเศษยิ่งยากที่จะหาช่างฝีมือยุคใดมาเทียบได้
จัดเป็นศิลปะที่งดงามเป็นเลิศ เป็นศิลปะชั้นครูชั้นยอดแห่งยุค
1) ลักษณะของพระพักตร์รูปไข่ พะขนงเหมือนคันศร(โก่ง)เป็นปม(เหมือนพระพุทธรูปเชียงแสน)
พระศกขมวดแหลมสูงเหมือนก้นหอย และไม่มีไรพระศก พระรัศมีเป็นเปลวเพลิง
พระวรกายสง่างาม และอ่อนช้อยสมสัดส่วน พระอุระผาย ส่วนพระอังสาใหญ่
ปั้นพระองค์เล็กเหมือนรูปกายของสตรีเพศ หัวพระถัน(นม)โปน จีวรบางแนบเนื้อ
สังฆาฏิขาวเลยพระนาภี มีปลายแฉก เหมือนเขี้ยวตะขาบ
2) ส่วนด้านหลังของสังฆาฏิยาวเกือบถึงทับเกษตร
พระกรกลมกลึงและยาวดุจงวงช้าง นิ้วพระหัตถ์เรียวสละสลวย
ส่วนฐานมักจะทำเป็นฐานเตี้ย
3) สำหรับพระเครื่องบางพิมพ์ทรงนั้น
มีความงามไม่ด้อยไปกว่าพระบูชาเลย เช่นพระเชตุพนพิมพ์ใหญ่ และพระลีลาพิมพ์ใหญ่
ทั้งสองพิมพ์นี้งดงามบาดใจจริงๆ
ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระตระกูลช่างสุโขทัย ไม่ว่าตะเป็นพระบูชา
พระเครื่องในยุคของสุโขทัยแล้ว
นักนิยมพระยอมรับนับถือว่าเป็นยุคของศิลปะที่งดงามเป็นหนึ่ง
และทรงไว้ซึ่งความอ่อนไหว ก่อให้เกิดอารมณ์สุนทรี และประติมากรรมอันล้ำลึกในด้านศิลปะอย่างแท้จริงยากที่จะหาศิลปะยุคใดเสมอเหมือน
พระกรุหนองช้างเผือก(กรุนาอุโมงค์)เป็นพระศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์
มีหลายพิมพ์ทรงและงดงามตามลักษณะดังกล่าวมาแล้วทั้งสิ้น เป็นพระกรุที่ที่มีอายุ
มีความเก่าแก่ถึงยุคสมัย แม้แต่อักษรสมัยที่จารึกในแผ่นลานทองที่มีผู้ขุดพบนั้น
ก็เป็นอักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้น โดยดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด
หรืออักษรคฤนต์ ใช้ในอินเดียฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ ประชาชนได้ใช้กันเรื่อยมา
เมืองตากเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย พระเจดีย์ยุทธหัตถีที่บ้านตากเป็นโบราณสถานสำคัญยิ่งของชาติแห่งหนึ่ง บริเวณใกล้เคียง ที่พบกรุพระจำนวนมากมหาศาล
โบราณสถานได้แก่ เจดีย์รายล้อมรอบทั่วและฝังจมดินมาเป็นเวลาช้านาน
ศิลปะการสร้างเป็นสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ดังนั้นผู้สร้างพระเครื่องต้องเป็นพระมหากษัตริย์คือ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั่นเอง หลังจากขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1822 แล้ว
ก็ทรงสร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถีขึ้น รวมทั้งพระเจดีย์รายล้อมรอบด้วย
พร้อมกันนี้ก็มีพระราชโองการให้จัดสร้างพระบูชา
พระเครื่องและแผ่นจารึกลานทองบรรจุในกรุพระเจดีย์เหล่านี้
เป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้และเป็นหลักฐานต่อไป
มวลสารใช้สร้าง
พระเครื่องกรุนี้สร้างด้วยชินเงิน ชินสนิมแดง
และดินเผา
เนื้อชินเงิน
1. ผิวพระโดยมาก มักจะดำ
คล้ายพระร่มโพธิ์เพชรบูรณ์
2. สนิมขุม
และตระกรันที่จับเนื้อพระจะเรียงเสมอกัน
3. บางองค์มีคราบเหลืองปกคลุมผิวพระ คราบนี้มีความแข็ง
เรียกว่าคราบตกผลึก
เนื้อชินสนิมแดง
จะมีคราบกรุและทรายปิดมิดชิด
สีเหลืองอมขาวสลับกัน ต้องล้างคราบกรุออกจึงจะพบสีแดงเสมอกันหมด คือแดงทั้งองค์
1. พระอยู่ในที่เปียกชื้น(กรุน้ำท่วม)
จะมีรอยระเบิดบางองค์
2. กรุน้ำท่วม สนิมจะเสมอกัน สนิมไขวัวไม่มี
3. กรุน้ำไม่ท่วม สนิมเสมอกัน มีไขขาวเป็นจุดๆ
ติดกับเนื้อตะกั่ว
4. เหงื่อนั้นโดยมากจะเกิดจากความร้อน
ความอับชื้น พระเนื้อชินเป็นโลหะ เมื่อถูกความชื้น
ความร้อนเย็นจะเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศเป็นสนิมตามมา
พระเขตุพนบัวสองชั้น ชินเงิน ขนาดฐานกว้าง 1.3
ซม. สูง 2.8 ซม. หนา 0.3 ซม.
พุทธคุณ
เป็นพระเครื่องที่เหมาะสำหรับเด็กปละผู้หญิง
มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น