วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พระคันธาระสุวรรณภูมิ ประทานพร

 

พระพุทธลักษณะ ปางประทานพร หรือแสดงธรรม องค์พระประทับนั่งราบบนฐานเขียงสองชั้น พระสรีระเสมือนมนุษย์จริง ห่มคลุมกลีบจีวรเป็นริ้ว พระเกศาและมวยผม เป็นเส้นผมหวีเรียบเหมือนผมจริง เป็นศิลปะสมัยคันธาระของอินเดีย ด้านหลังพระเศียรมีรัศมีประภามณฑลรูปกลม
ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ ขนาดกว้างฐาน 4.5 ซม. สูง 7 ซม.

1. วัสดุการสร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมหลักคือดินเหนียว กรวด ทราย บดกรองละเอียด ส่วนผสมที่ใช้มากคือทราย เมื่อเผาแล้วทำให้เนื้อพระแข็งแกร่ง ได้พระพิมพ์ดินเผาสีส้มแดง คราบไคลสีดำคล้ำผสมกับคราบหินปูนสีขาว เป็นฝ้าบางๆ เคลือบผิวเนื้อติดแน่น เป็นหลักฐานที่พระพิมพ์นี้ ถูกฝังอยู่ในวัตถุสถานนับพันปี

2. ศิลปะ ยุคสมัยการสร้างและผู้สร้าง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ดั้งเดิมเป็นเมืองโบราณศูนย์กลางอาณาจักรสุวรรณภูมิ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ อาศัยอยู่ นับถือศาสนาพุทธที่แผ่เข้ามาจากอินเดีย มีศิลปะทวาราวดี กำเนิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 ชาวอินเดียอพยพเข้ามาภายหลัง ได้นำเอาอารยธรรมการสร้างพระพุทธรูปบูชาเข้ามาด้วย ผู้ปกครองจึงรับเอา มาประยุกต์ใช้กับพระพิมพ์ดินเผาขนาดเล็ก เพราะสร้างง่ายและได้จำนวนมาก ปลุกเสกแล้วนำบรรจุในสถูปเจดีย์เพื่อยึดเหนี่ยวชาวพุทธและสืบต่อพระศาสนา ถือเป็นกำเนิดของพระพิมพ์ครั้งแรกของประเทศไทย มีชื่อว่า “พระคันธาระสุวรรณภูมิ ในต้นยุคทวาราวดีที่อู่ทอง สุพรรณบุรี ก่อนศิลปะทวาราวดีจะไปเจริญที่นครปฐม เมื่ออู่ทองเสื่อมลง

พุทธคุณ นิรันตรายภัยพิบัติทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น