วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พระนาคปรกนาดูน พิมพ์ใหญ่ กรุเมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

 

พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิแบบขาไขว้  เป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์นาดูน พระหัตถ์ขวาวางซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายบนหน้าตัก พระจีวรห่มคลุมเปิดไหล่ขวา ผนังด้านหลังรอบพระเศียร เป็นเศียรพญานาค 7 เศียร องค์พระประทับบนขนดหางพญานาค 3 ชั้น

ความงดงามของพระพิมพ์และความเก่าแก่ของกรุนี้จัดอยู่ในปลายสมัยคุปตะ หรือต้นยุคปาละ-เสนา อายุการสร้างประมาณ 1,300 ปีล่วงมาแล้ว

ด้านหลังของพระพิมพ์อูมนูนเป็นรูปไข่ผ่าซีกปรากฏลายมือ กดแต่งเป็นคลื่นอยู่ทั่วไป ขอบข้างเป็นสันคม

1. วัสดุและทัพสัมภาระ การสร้างพระพิมพ์ดินเผากรุนาดูน ส่วนผสมประกอบด้วย ดินเหนียว, กรวด, ศิลาแลง และแกลบ เมื่อเผาแล้วทำให้เนื้อพระแข็งแกร่ง พระพิมพ์เป็นดินเผาสีแดง คราบกรุเป็นผงหินปูนสีขาว เคลือบเป็นฝ้าบางๆเป็นหย่อมๆ อยู่ทั่วไปทั้งด้านหน้าและหลัง

2. ยุคสมัยการสร้าง พระพิมพ์กรุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อายุการสร้างประมาณ 1,300 ปี ลักษณะพุทธประติมากรรม เป็นแบบผสมระหว่างศิลปะทวารวดีกับศิลปะลพบุรี มีส่วนละม้ายศิลปะแบบขอม (ศิลปะลพบุรีเป็นศิลปะเลียนแบบขอมในกัมพูชาเป็นส่วนใหญ่) กรมศิลปากรกำหนดอายุของพระพิมพ์กรุนาดูนนี้ไว้ ประมาณการสร้างอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 อายุการสร้างประมาณ 1,300 ปีอักษรต่างๆที่จารึกบนพระพิมพ์เป็นภาษามอญโบราณยุคทวาราวดีตอนปลาย ซึ่งมีพุทธศิลป์คาบเกี่ยวระหว่างศิลปะคุปตะและศิลปะปาละ-เสนา

การแตกกรุ ถูกค้นพบโดยบังเอิญ เจ้าของนาไปปลูกผักในที่นาของตน ได้พบพระพิมพ์แบบต่างๆ จึงนำไปขายในตัวจังหวัด กระทั่งชาวบ้านรู้ข่าว จึงลุกฮือไปแย่งกันขุด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2522

3. ผู้สร้าง จากอักขระที่ปรากฏอยู่บนแผ่นพระพิมพ์ดินเผาบางองค์ ซึ่งมีการใช้ดินสีแดงเขียนและการใช้ของแหลมขีดเขียนลงไปในเนื้อดินนั้น ทำให้ทราบว่าคำจารึกส่วนใหญ่นั้นได้สร้างพระพิมพ์เหล่านนี้ขึ้นเพื่อการกุศลผลบุญ มีจารึกตอนหนึ่งกล่าวว่า “พระเจ้ากะลามาแตง  สร้างไว้เพื่อทำบุญ. แสดงว่าพระพิมพ์ดินเผากรุนาดูนนี้ กษัตริย์มอญโบราณปกครองอาณาจักรเมืองนครจำปาศรี อ.นาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นผู้สร้างไว้

พุทธคุณ ดีทางด้านแคล้วคลาดสูงมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น