วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พระงบน้ำอ้อย พิมพ์ยมกปาฏิหาริย์ ๑๐ พระองค์ กรุวัดพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร

 

พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ปางปาฏิหาริย์ แสดงภาพเป็นพระองค์เล็กๆมากมาย ระทับนั่งปางสมาธิ ภายในกรอบรูปวงกลมเหมือนงบน้ำอ้อย มีวงเดียว 10 องค์ด้านหลังค่อนข้างแบน ปรากฏลายมือกดแต่งอยู่ทั่วไป

1. วัสดุการสร้าง เนื้อดินกรองละเอียด ผสมผงดินเผาสีแดง ดินกรุสีเทาเคลือบผิวบางๆ
ขนาดพระพิมพ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง เป็นพระพิมพ์ศิลปะยุคสุโขทัย ระหว่างพ.ศ.1900 สร้างบรรจุกรูไว้ที่เมืองโบราณชากังราว(นครชุม) ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร

3. ผู้สร้าง พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์กรุงสุโขทัยองค์ที่5 เป็นผู้อำนวยการ โดยช่างเมืองกำแพงเพชร ได้สร้างบรรจุกรุไว้ตามเจดีย์ต่างๆ บริเวณลานทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร


พุทธคุณ คงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พระนาคปรกนาดูน พิมพ์ใหญ่ กรุเมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

 

พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิแบบขาไขว้  เป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์นาดูน พระหัตถ์ขวาวางซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายบนหน้าตัก พระจีวรห่มคลุมเปิดไหล่ขวา ผนังด้านหลังรอบพระเศียร เป็นเศียรพญานาค 7 เศียร องค์พระประทับบนขนดหางพญานาค 3 ชั้น

ความงดงามของพระพิมพ์และความเก่าแก่ของกรุนี้จัดอยู่ในปลายสมัยคุปตะ หรือต้นยุคปาละ-เสนา อายุการสร้างประมาณ 1,300 ปีล่วงมาแล้ว

ด้านหลังของพระพิมพ์อูมนูนเป็นรูปไข่ผ่าซีกปรากฏลายมือ กดแต่งเป็นคลื่นอยู่ทั่วไป ขอบข้างเป็นสันคม

1. วัสดุและทัพสัมภาระ การสร้างพระพิมพ์ดินเผากรุนาดูน ส่วนผสมประกอบด้วย ดินเหนียว, กรวด, ศิลาแลง และแกลบ เมื่อเผาแล้วทำให้เนื้อพระแข็งแกร่ง พระพิมพ์เป็นดินเผาสีแดง คราบกรุเป็นผงหินปูนสีขาว เคลือบเป็นฝ้าบางๆเป็นหย่อมๆ อยู่ทั่วไปทั้งด้านหน้าและหลัง

2. ยุคสมัยการสร้าง พระพิมพ์กรุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อายุการสร้างประมาณ 1,300 ปี ลักษณะพุทธประติมากรรม เป็นแบบผสมระหว่างศิลปะทวารวดีกับศิลปะลพบุรี มีส่วนละม้ายศิลปะแบบขอม (ศิลปะลพบุรีเป็นศิลปะเลียนแบบขอมในกัมพูชาเป็นส่วนใหญ่) กรมศิลปากรกำหนดอายุของพระพิมพ์กรุนาดูนนี้ไว้ ประมาณการสร้างอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 อายุการสร้างประมาณ 1,300 ปีอักษรต่างๆที่จารึกบนพระพิมพ์เป็นภาษามอญโบราณยุคทวาราวดีตอนปลาย ซึ่งมีพุทธศิลป์คาบเกี่ยวระหว่างศิลปะคุปตะและศิลปะปาละ-เสนา

การแตกกรุ ถูกค้นพบโดยบังเอิญ เจ้าของนาไปปลูกผักในที่นาของตน ได้พบพระพิมพ์แบบต่างๆ จึงนำไปขายในตัวจังหวัด กระทั่งชาวบ้านรู้ข่าว จึงลุกฮือไปแย่งกันขุด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2522

3. ผู้สร้าง จากอักขระที่ปรากฏอยู่บนแผ่นพระพิมพ์ดินเผาบางองค์ ซึ่งมีการใช้ดินสีแดงเขียนและการใช้ของแหลมขีดเขียนลงไปในเนื้อดินนั้น ทำให้ทราบว่าคำจารึกส่วนใหญ่นั้นได้สร้างพระพิมพ์เหล่านนี้ขึ้นเพื่อการกุศลผลบุญ มีจารึกตอนหนึ่งกล่าวว่า “พระเจ้ากะลามาแตง  สร้างไว้เพื่อทำบุญ. แสดงว่าพระพิมพ์ดินเผากรุนาดูนนี้ กษัตริย์มอญโบราณปกครองอาณาจักรเมืองนครจำปาศรี อ.นาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นผู้สร้างไว้

พุทธคุณ ดีทางด้านแคล้วคลาดสูงมาก


พระนางพญา สามพี่น้อง กำแพงเพชร - ๒

 

เนื้อดินผสมผงนุ่ม หลังลายมือ กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร

พุทธคุณ เมตตา มหาโชค แคล้วคลาด