พระร่วงยืน พิมพ์เศียรโต
ชินสนิมแดง กรุสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี
พระร่างยืนพิมพ์เศียรโต กรุสุพรรณบุรี
เนื้อชินสนิมแดง เท่าที่พบเห็นและเล่นเป็นสากลแล้ว มีไม่ต่ำกว่าสิบกรุในหลายพิมพ์ เฉพาะพระพิมพ์ในตระกูลพระร่วงยืน
แล้วจะพบแทบทุกกรุเลยทีเดียว และหนึ่งในพระร่วงยืนนั้น พิมพ์เศียรโตก็เป็นพิมพ์ที่พบขึ้นในหลายกรุ
และล้วนเป็นพระพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
พระร่วงยืนพิมพ์เศียรโตเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง ขึ้นในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
เช่น กรุปู่บัว,
กรุท่าเสด็จ, กรุวังวน, กรุหนองแจง และกรุราชเดชะ เป็นต้น
พระพิมพ์นี้จากทุกกรุดังกล่าวล้วนเป็นพระพิมพ์เดียวกัน
อาจจะมีข้อแตกต่างกันไปบ้างในบางส่วน เช่น การตัดขอบขององค์พระ
จะสังเกตพบว่าพระบางองค์ปลายแหลม
หรือบางองค์ปลายโค้งมน แม้กระทั่งบางองค์ที่ตัดชิดองค์พระก็มี
นั่นเป็นเรื่องของขอบ แม้ขอบข้างจะต่างกันไปบ้าง
แต่องค์พระปฏิมาก็มีลักษณะเช่นเดียวกันหมด
ส่วนหนึ่งที่พบว่าต่างกันไปในแต่ละกรุนั่นก็คือ
ลักษณะของสนิมไข และสนิมแดงที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุเป็นพระต่างกรุ
สภาพสิ่งแวดล้อมและอากาศภายในกรุแตกต่างกัน เหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญทำให้เกิดการแปรเปลี่ยนในองค์พระต่างกันไป
เช่น พระร่วงยืน พิมพ์เศียรโต กรุปู่บัว เป็นกรุที่พบพระพิมพ์นี้ก่อนกรุอื่น
สภาพของสนิมแดงเป็นสีแดงคล้ำ มีไขขาวเคลือบอยู่ไม่มาก
ไม่ต้องล้างก็เห็นสนิมแดงง่าย ต่างจากกรุหนองแจงและท่าเสด็จ จะมีไขขาวคลุมอยู่หนามาก
ต้องล้างไขขาวออกก่อน จึงจะเห็นสนิมแดง
(แต่ไม่ควรล้างเพราะจะทำให้เสียสภาพความเก่าเดิมตามธรรมชาติไป)
ลักษณะพระร่วงยืน พิมพ์เศียรโต
เป็นพระปรางประทานพร ยกพระหัตถ์ขวา พระวรกายอวบล่ำกว่าพิมพ์พระร่วงยืนทั้งหลาย
พระเศียรและพระพักตร์โต อันเป็นชื่อพิมพ์ พระเนตรโปน
พระขนงหรือคิ้วเชื่อมต่อกับพระนาสิกหรือจมูกมีลักษณะคล้ายปีกกา
ด้านหลังเป็นแอ่งเล็กน้อยทั้งปรากฏลายผ้าและไม่ปรากฏลายผ้า
พุทธลักษณะ
1.พระพักตร์ใหญ่ เศียรโต
เส้นพระกรรณทั้งสองบางองค์ติดชัด บางองค์ติดบางๆ
พื้นผนังรอบพระเศียรหรือกรอบพิมพ์บางองค์ตัดชิด บางองค์เหลือไว้
ส่วนปลายยอดมีทั้งมนและปลายแหลม ถ้าหากตัดขอบแหลม
จะปรากฏเส้นกรอบพิมพ์เป็นเส้นโค้งให้เห็น
2.รายละเอียดบนพระพักตร์ ทุกส่วนจะปรากฏเป็นเนื้อนูน
เช่นพระขนงทั้งสอง เชื่อมต่อเป็นเส้นเดียวกับสันพระนาสิก พระเนตรโปน ริมฝีปากนูน
โดยเฉพาะริมฝีปากล่างยื่นเล็กน้อย ร่องปากเป็นหลุมลึกและหน้าผากกว้าง
3.พระเศียรเป็นเนื้อนูน พระเกศคล้ายฝาชี
4.ปลายพระกรรณด้านล่างทั้งสองข้าง
เชื่อมต่อเป็นเส้นเดียวกับเส้นกรอบพระศอลักษณะตัวยู จะเห็นชัดที่สุดในกุราชเดชะ
5.ลำพระองค์ จะอวบล่ำกว่าพระร่วงพิมพ์อื่นๆ
บริเวณหน้าอกจะนูนอวบ แล้วผายออกด้านข้างในส่วนของบั้นเอว
6.แขนขวากางออกเล็กน้อยก่อนจะหักและยกพระหัตถ์ลักษณะประทานพร
ใต้ข้อมือลงไปมีหลุมตื้นๆปรากคือพระนาภี
7.แขนซ้ายยาวขนานข้างลำตัวเลยเอวถึงสะโพก
ข้อมือซ้ายปรากฏเพียงเนื้อนูน ไม่มีรายละเอียดของนิ้ว
8.บริเวณเอวจะมีเส้นรัดประคดสองเส้น
พร้อมทั้งกลีบ พระภูษามีลายกนกประจำยาม 4 กลีบทับเส้นรัดประคดอยู่
ซึ่งพระร่วงพิมพ์อื่นๆไม่มี
9.เส้นจีวรจากข่อศอกขวาเป็นเส้นคู่ขนานเรื่อยลงมาส่วนล่างด้านนอกชิดขอลพิมพ์
ปลายโค้งเข้าใน
10.ชายจีวรด้านซ้ายองค์พระต่อจากปลายมือจะคล้ายกับอีกด้าน
11.ปลายฐานด้านล่าง เป็นแบบเนื้อเต็มพบโดยทั่วไป
ชายจีวรข้างพระบาทอยู่ครับ ถ้าเป็นแบบฐานเดือย พื้นผนังจะถูกตัดออกไป
เหลือเฉพาะฐานและพระบาทให้เห็นเป็นฐานเดือย
12.ด้านหลังเป็นแอ่งเล็กน้อย
ทั้งปรากฏลายผ้ามีมากกว่าบ้าง น้อยบ้างไม่จำกัด
กรุปู่บัว
สนิมแดงเข้มเป็นหย่อมๆ มีไขขาวแซมเคลือบอยู่
กรุท่าเสด็จ
ไขขาวหนาขึ้นปกคลุมทั้งหน้าและหลัง
กรุราชเดชะ
สนิมแดงเข้มขึ้นทั่วทั้งองค์พระ ไขขาวแซมประปราย
บางองค์ไขขาวคลุมหนาเหมือนกรุท่าเสด็จ ที่เป็นเอกลักษณ์คือฐานตัดเป็นรูปเดือย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น