วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระร่วงยืน พิมพ์เศียรโต ชินสนิมแดง กรุสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี

 



พระร่วงยืน พิมพ์เศียรโต ชินสนิมแดง กรุสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี

พระร่างยืนพิมพ์เศียรโต กรุสุพรรณบุรี เนื้อชินสนิมแดง เท่าที่พบเห็นและเล่นเป็นสากลแล้ว มีไม่ต่ำกว่าสิบกรุในหลายพิมพ์ เฉพาะพระพิมพ์ในตระกูลพระร่วงยืน แล้วจะพบแทบทุกกรุเลยทีเดียว และหนึ่งในพระร่วงยืนนั้น พิมพ์เศียรโตก็เป็นพิมพ์ที่พบขึ้นในหลายกรุ และล้วนเป็นพระพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ

พระร่วงยืนพิมพ์เศียรโตเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง ขึ้นในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี เช่น กรุปู่บัว, กรุท่าเสด็จ, กรุวังวน, กรุหนองแจง และกรุราชเดชะ เป็นต้น พระพิมพ์นี้จากทุกกรุดังกล่าวล้วนเป็นพระพิมพ์เดียวกัน อาจจะมีข้อแตกต่างกันไปบ้างในบางส่วน เช่น การตัดขอบขององค์พระ จะสังเกตพบว่าพระบางองค์ปลายแหลม  หรือบางองค์ปลายโค้งมน แม้กระทั่งบางองค์ที่ตัดชิดองค์พระก็มี นั่นเป็นเรื่องของขอบ แม้ขอบข้างจะต่างกันไปบ้าง แต่องค์พระปฏิมาก็มีลักษณะเช่นเดียวกันหมด

ส่วนหนึ่งที่พบว่าต่างกันไปในแต่ละกรุนั่นก็คือ ลักษณะของสนิมไข และสนิมแดงที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุเป็นพระต่างกรุ สภาพสิ่งแวดล้อมและอากาศภายในกรุแตกต่างกัน เหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญทำให้เกิดการแปรเปลี่ยนในองค์พระต่างกันไป เช่น พระร่วงยืน พิมพ์เศียรโต กรุปู่บัว เป็นกรุที่พบพระพิมพ์นี้ก่อนกรุอื่น สภาพของสนิมแดงเป็นสีแดงคล้ำ มีไขขาวเคลือบอยู่ไม่มาก ไม่ต้องล้างก็เห็นสนิมแดงง่าย ต่างจากกรุหนองแจงและท่าเสด็จ จะมีไขขาวคลุมอยู่หนามาก ต้องล้างไขขาวออกก่อน จึงจะเห็นสนิมแดง (แต่ไม่ควรล้างเพราะจะทำให้เสียสภาพความเก่าเดิมตามธรรมชาติไป)

ลักษณะพระร่วงยืน พิมพ์เศียรโต เป็นพระปรางประทานพร ยกพระหัตถ์ขวา พระวรกายอวบล่ำกว่าพิมพ์พระร่วงยืนทั้งหลาย พระเศียรและพระพักตร์โต อันเป็นชื่อพิมพ์ พระเนตรโปน พระขนงหรือคิ้วเชื่อมต่อกับพระนาสิกหรือจมูกมีลักษณะคล้ายปีกกา ด้านหลังเป็นแอ่งเล็กน้อยทั้งปรากฏลายผ้าและไม่ปรากฏลายผ้า

พุทธลักษณะ
1.พระพักตร์ใหญ่ เศียรโต เส้นพระกรรณทั้งสองบางองค์ติดชัด บางองค์ติดบางๆ พื้นผนังรอบพระเศียรหรือกรอบพิมพ์บางองค์ตัดชิด บางองค์เหลือไว้ ส่วนปลายยอดมีทั้งมนและปลายแหลม ถ้าหากตัดขอบแหลม จะปรากฏเส้นกรอบพิมพ์เป็นเส้นโค้งให้เห็น
2.รายละเอียดบนพระพักตร์ ทุกส่วนจะปรากฏเป็นเนื้อนูน เช่นพระขนงทั้งสอง เชื่อมต่อเป็นเส้นเดียวกับสันพระนาสิก พระเนตรโปน ริมฝีปากนูน โดยเฉพาะริมฝีปากล่างยื่นเล็กน้อย ร่องปากเป็นหลุมลึกและหน้าผากกว้าง
3.พระเศียรเป็นเนื้อนูน พระเกศคล้ายฝาชี
4.ปลายพระกรรณด้านล่างทั้งสองข้าง เชื่อมต่อเป็นเส้นเดียวกับเส้นกรอบพระศอลักษณะตัวยู จะเห็นชัดที่สุดในกุราชเดชะ
5.ลำพระองค์ จะอวบล่ำกว่าพระร่วงพิมพ์อื่นๆ บริเวณหน้าอกจะนูนอวบ แล้วผายออกด้านข้างในส่วนของบั้นเอว
6.แขนขวากางออกเล็กน้อยก่อนจะหักและยกพระหัตถ์ลักษณะประทานพร ใต้ข้อมือลงไปมีหลุมตื้นๆปรากคือพระนาภี
7.แขนซ้ายยาวขนานข้างลำตัวเลยเอวถึงสะโพก ข้อมือซ้ายปรากฏเพียงเนื้อนูน ไม่มีรายละเอียดของนิ้ว
8.บริเวณเอวจะมีเส้นรัดประคดสองเส้น พร้อมทั้งกลีบ พระภูษามีลายกนกประจำยาม 4 กลีบทับเส้นรัดประคดอยู่ ซึ่งพระร่วงพิมพ์อื่นๆไม่มี
9.เส้นจีวรจากข่อศอกขวาเป็นเส้นคู่ขนานเรื่อยลงมาส่วนล่างด้านนอกชิดขอลพิมพ์ ปลายโค้งเข้าใน
10.ชายจีวรด้านซ้ายองค์พระต่อจากปลายมือจะคล้ายกับอีกด้าน
11.ปลายฐานด้านล่าง เป็นแบบเนื้อเต็มพบโดยทั่วไป ชายจีวรข้างพระบาทอยู่ครับ ถ้าเป็นแบบฐานเดือย พื้นผนังจะถูกตัดออกไป เหลือเฉพาะฐานและพระบาทให้เห็นเป็นฐานเดือย
12.ด้านหลังเป็นแอ่งเล็กน้อย ทั้งปรากฏลายผ้ามีมากกว่าบ้าง น้อยบ้างไม่จำกัด

กรุปู่บัว สนิมแดงเข้มเป็นหย่อมๆ มีไขขาวแซมเคลือบอยู่
กรุท่าเสด็จ ไขขาวหนาขึ้นปกคลุมทั้งหน้าและหลัง
กรุราชเดชะ สนิมแดงเข้มขึ้นทั่วทั้งองค์พระ ไขขาวแซมประปราย บางองค์ไขขาวคลุมหนาเหมือนกรุท่าเสด็จ ที่เป็นเอกลักษณ์คือฐานตัดเป็นรูปเดือย



พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้าย