วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระสมเด็จ วัดพลับ

พระสมเด็จ วัดพลับ

 
พิมพ์ยืน (วันทาเสมา)
 
พิมพ์ภควัมบดี (พระปิดตา) พิมพ์ใหญ่
สร้างโดยสมเด็จพระสังราชสุก (ไก่เถื่อน) ในสมัยเมื่อครั้งเป็นพระญาณสังวรเถระ เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๖๒ สร้างก่อนสมเด็จอรหัง หนึ่งปี พระสมเด็จวัดพลับได้มีผู้นำไปบรรจุที่วัดธรรมโสภิต (วัดโค่ง) อุทัยธานี ในพระอุโบสถและพระเจดีย์ จำนวน ๕ ไห 
พระสมเด็จฯวัดพลับที่ได้จากกรุวัดโค่ง ถือว่าเป็นพระชนิดเดียวกันกับวัดพลับ เป็นพระเนื้อปูนปั้น วรรณะค่อนข้างขาว และค่อนข้างขาวหม่นคล้ำบ้าง สำหรับที่พระบรรจุกรุวัดโค่งมีเนื่อตะกั่วสนิมแดงและเนื้อชิน อยู่บ้างแต่ไม่มาก จะกล่าวถึงเนื้อปูนปั้นเป็นมาตรฐานเป็นเนื้อจัด ที่มีความแกร่ง ความนุ่ม และความซึ้ง ทัดเทียมหรือเหนือกว่าพระสมเด็จฯ มีกรอบทรงมนๆ ลักษณะต่างๆ รวม ๗ พิมพ์ด้วยกัน
๑. พิมพ์ยืน (พิมพ์วันทาเสมา) ประทับยืนปางประนมหัตถ์ถือดอกบัว แสดงกายวิภาคข้างขวา พระศิระประดับด้วยปิ่นปักพระเมาฬี ซึ่งทำไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง หมายถึงปางประสูตรของพระมหาโพธิ์สิทธัตถะราชกุมาร
๒. พิมพ์ตุ๊กตาเข่ากว้าง พระศิระเขื่องมาก พระกรรณหนา พระอุระนูน พระเพลากว้าง และส่วนฐานของกรอบป้านกว้างมาก มี ๓ ขนาด คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก
๓. พิมพ์ตุ๊กตาเข่าแคบ พระศิระและพระอุทรย่อม นูนน้อยกว่าพิมพ์เข่ากว้างเล็กน้อย กรอบมีช่วงยาวมนมากกว่า มี ๓ ขนาดคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก
๔. พิมพ์เทวดาเข่ากว้าง พระพักตร์ผลมะตูม พระกรรณ "หูบายศรี" ช่วงพระอุระยาว ความนูนหนาน้อย พระเพราค่อนข้างกว้าง มี ๓ ขนาด คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก
๕. พิมพ์เทวดาเข่าแคบ ช่วงองค์พระโปร่ง พระเพลาพิมพ์แคบกว่าพิมพ์เข่ากว้างเล็กน้อย มี ๓ ขนาดคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก
๖. พิมพ์ภควัมบดี เป็นแบบปิดตา ทรวดทรงป้อมๆ มี ๓ ขนาดคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก
๗. พิมพ์กระรอกเผือก ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นพิมพ์ขนาดเล็กที่สุด(พิมพ์จิ๋ว) เนื้อจะมีวรรณะขาวจัด
พระสมเด็จ วัดพลับ มีทั้งเนื้อหนึบแกร่ง หนึบนุ่ม วรรณะขาวสดใส และขาวอมเหลืองหม่นๆ สำหรับที่ได้จากกรุวัดโค่ง ผิวเนื้อแห้งๆ หรือมีคราบจับบ้าง ข้อสังเกตพระจากสองวัดนี้มีผู้ทำปลอมกันมากทั้งในกรุงเทพฯและอุทัยธานี

หมายเหตุ คัดลอกมาจากหนังสือ "พระสมเด็จ" ของ ตรียัมปวาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น