พระคาถาบูชาพระกริ่งปวเรศ วังหน้า
นะโม ภะคะวะเต ไภษัชฺยะคุรุ ปะระภาราชายะ
ตะถาคะตะยาระ สะมะยะกะ สะมะพุทฺธะ
ทายะโอมะ ไภเษชะยะ ไภเษชะยะ
สะมุทฺระ สะมุทฺระ คะเตสะวาหะ
ประวัติการสร้างกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เริ่มสร้างครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๐๔ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) แห่งราชวงศ์จักรี
การสร้างคร้งที่ ๑ ในปีพ.ศ. ๒๔๐๔ สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ทรงสร้างเพื่อทดแทนพระกริ่งปวเรศทองคำที่หายไป (เมื่อปี ๒๔๐๓) ในพระราชพิธีมุรธาภิเษกและพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของพระมหากษัตริย์ (ร ๔) และขณะรัชกาลที่ ๕ พระชนมายุ ๙ พระชันษา เพื่อใช้ในพระราชพิธีเจริญน้ำพระพุทธมนต์ พิธีรับพระสุพรรณบัฏ (พระราชนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ หน้า ๕๐ - ๕๑) จำนวนการสร้าง ๓ องค์
มีส่วนผสมของเนื้อพระพุทธชินสีห์ เป็นเนื้อสำริดมี ๓ ชนิดคือ
เนื้อสำริดเดช ออกสีแดงแก่ อ่อน,
เนื้อสำริดโชติ ออกสีขาว หรือขาวจัด,
เนื้อสำริดเดช ออกสีเหลือง
(พระราชนิพนธ์ พงศาวดาร ร ๕ หน้า ๓๐ - ๓๔, หน้า ๔๗ และพระราชพิธีโสกันต์ หน้า ๕๔ - ๕๕ )
ขนาดองค์พระ สูง ๗ ซ.ม. (รวมฐาน)
ฐานกว้าง ๒ ซ.ม.
ฐานยาว ๓.๕ ซ.ม.