เหรียญปวเรศหรือเหรียญบาตรน้ำมนต์ (เหรียญที่ระลึก มหาสมณุตตมาภิเศก แบบที่ 1) เป็นเหรียญที่หายากยิ่งอีกชุดหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร เหรียญนี้สร้างในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ในหนังสือ "เหรียญที่ระลึก กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2525" ที่กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาโดยสรุปไว้ว่า เหรียญชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกใน "พระราชพิธีมหาสมณุตตมาภิเศก" เลื่อนพระอิสริยยศของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ขึ้นเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2434 ดำรงพระยศฝ่ายสมณศักดิ์เจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขต โดยมีการจัดสร้างขึ้น 2 แบบ คือ 1.เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ 1 เรียกว่า "เหรียญปวเรศ" หรือ "เหรียญบาตรน้ำมนต์" 2.เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศกแบบ 2 เรียกว่า "เหรียญมือ" เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ 1 หรือที่เรียกกันไดยทั่วไปว่า "เหรียญบาตรน้ำมนต์" หรือ "เหรียญปวเรศ" นับว่าเป็นวัตถุมงคลของวัดบวรฯ ที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงเคียงคู่มากับ "พระกริ่งปวเรศ" ทีเดียว เพียงแต่เหรียญปวเรศมีการจัดสร้างจำนวนมากกว่า จึงทำให้สนนราคาค่านิยมลัดหลั่นกันไป อย่างไรก็ตาม การจะหาเหรียญปวเรศสักเหรียญมาครอบครองก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย หนังสือ "เหรียญที่ระลึก กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2525" หน้า 73 กล่าวถึงเหรียญนี้ไว้ว่า ... เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๑ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ขอบเรียบ ด้านหน้า เป็นรูปอัฐบริขาร พัดยศ และเบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว ๕ ชั้น) มีอักษรเป็นภาษามคธว่า "อยํโข สุขิโตโหติ นิทฺทุกฺโข นิรุปทฺทโว อนันตราโย ติฏฺเฐยฺย สพฺพโสตฺถี ภวันฺตุเต" แปลว่า ผู้นี้แลมีความสุข ไร้ความทุกข์ ไร้อุปัทวะ ไม่มีอันตราย พึงดำรงอยู่ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน ด้านหลังมีข้อความว่า "ที่รฤก งาน มหาสมณุตตมาภิเศก พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐" (ด้านบนคำว่า "ศก" มีเลขไทย "๒๔") ชนิดทองแดง ขนาด ส่วนกว้าง ๔๔ มิลลิเมตร ส่วนยาว ๕๕ มิลลิเมตร สร้าง พ.ศ.๒๔๓๔... เหรียญบาตรน้ำมนต์ หรือเหรียญปวเรศนี้ นับเป็นความบรรจงสร้างสรรค์ของช่างผู้ทำแบบแม่พิมพ์ที่สามารถบรรจุเครื่องอัฐบริขาร พัดยศ และเบญจปฎลเศวตฉัตรทั้งหมด ไว้ในเหรียญได้อย่างเหมาะเจาะแลดูสวยงดงามยิ่ง
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
เหรียญปวเรศหรือเหรียญบาตรน้ำมนต์
เหรียญปวเรศหรือเหรียญบาตรน้ำมนต์ (เหรียญที่ระลึก มหาสมณุตตมาภิเศก แบบที่ 1) เป็นเหรียญที่หายากยิ่งอีกชุดหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร เหรียญนี้สร้างในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ในหนังสือ "เหรียญที่ระลึก กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2525" ที่กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาโดยสรุปไว้ว่า เหรียญชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกใน "พระราชพิธีมหาสมณุตตมาภิเศก" เลื่อนพระอิสริยยศของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ขึ้นเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2434 ดำรงพระยศฝ่ายสมณศักดิ์เจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขต โดยมีการจัดสร้างขึ้น 2 แบบ คือ 1.เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ 1 เรียกว่า "เหรียญปวเรศ" หรือ "เหรียญบาตรน้ำมนต์" 2.เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศกแบบ 2 เรียกว่า "เหรียญมือ" เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ 1 หรือที่เรียกกันไดยทั่วไปว่า "เหรียญบาตรน้ำมนต์" หรือ "เหรียญปวเรศ" นับว่าเป็นวัตถุมงคลของวัดบวรฯ ที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงเคียงคู่มากับ "พระกริ่งปวเรศ" ทีเดียว เพียงแต่เหรียญปวเรศมีการจัดสร้างจำนวนมากกว่า จึงทำให้สนนราคาค่านิยมลัดหลั่นกันไป อย่างไรก็ตาม การจะหาเหรียญปวเรศสักเหรียญมาครอบครองก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย หนังสือ "เหรียญที่ระลึก กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2525" หน้า 73 กล่าวถึงเหรียญนี้ไว้ว่า ... เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๑ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ขอบเรียบ ด้านหน้า เป็นรูปอัฐบริขาร พัดยศ และเบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว ๕ ชั้น) มีอักษรเป็นภาษามคธว่า "อยํโข สุขิโตโหติ นิทฺทุกฺโข นิรุปทฺทโว อนันตราโย ติฏฺเฐยฺย สพฺพโสตฺถี ภวันฺตุเต" แปลว่า ผู้นี้แลมีความสุข ไร้ความทุกข์ ไร้อุปัทวะ ไม่มีอันตราย พึงดำรงอยู่ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน ด้านหลังมีข้อความว่า "ที่รฤก งาน มหาสมณุตตมาภิเศก พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐" (ด้านบนคำว่า "ศก" มีเลขไทย "๒๔") ชนิดทองแดง ขนาด ส่วนกว้าง ๔๔ มิลลิเมตร ส่วนยาว ๕๕ มิลลิเมตร สร้าง พ.ศ.๒๔๓๔... เหรียญบาตรน้ำมนต์ หรือเหรียญปวเรศนี้ นับเป็นความบรรจงสร้างสรรค์ของช่างผู้ทำแบบแม่พิมพ์ที่สามารถบรรจุเครื่องอัฐบริขาร พัดยศ และเบญจปฎลเศวตฉัตรทั้งหมด ไว้ในเหรียญได้อย่างเหมาะเจาะแลดูสวยงดงามยิ่ง
พระวัดบวรนิเวศวิหาร องค์อื่นๆ
(พระกริ่ง ดูที่ พระกริ่งองค์อื่นๆ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น