พระนางพญาทรงเทวดา
พิมพ์เล็ก กรุวัดนางพญา พิษณุโลก
รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
ขนาดฐานกว้าง 1.8 ซม. สูง 2.2 ซม. หนา 6 มม.
1. ด้านหน้า
2. ด้านหลัง
3. ด้านฐาน
4. ด้านซ้าย
5. ด้านขวา
1.พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ เป็นประติมากรรมนูนต่ำบนพื้นราบ ไม่มีอาสนะและเครื่องประดับตกแต่งใดๆ เบื้องพระปฤษฎางค์(หลัง) เป็นพื้นเรียบ ประดิษฐานภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลำพระองค์ตั้งตรง พระพักตร์รูปทรงผลมะตูม พระเกศาเรียบ ไรพระศกเป็นเส้นโค้งบนพระนลาฏ พระเกศรูปปลีกล้วย พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระศอแคบตื้น พระอุระนูนล่ำสัน สง่างาม อกผายไหล่ผึ่ง ครองจีวรแนบเนื้อ ห่มเฉียงเปิดพระอังสาซ้าย อบจีวรเป็นเส้นพาดใต้พระถันวกเลี้ยวเข้าใต้พระกัจฉะ สังฆาฏิเป็นแผ่นนูน พาดจากพระอังสา ลงทาบพระอุระจรดพระนาภี พระพาหาทั้งสองทอดลงขนานลำพระองค์ พระกรขวาหักพระกัประยงขึ้นพระหัตถ์วางคว่ำกุมพระชานุในลักษณะเข่านอก พระกรซ้ายหักพระกัประพับเข้าใน เป็นเส้นโค้งเล็กปลายแหลม เหมือนเบ็ดตกกุ้งวางลอยเหนือพระเพลา พระชงฆ์ขวาพับเข้าในเป็นเส้นโค้งเล็กวางลอยบนพระชงฆ์ซ้าย เป็นเส้นลอนใหญ่ ที่วางราบกับพื้น พระพิมพ์อยู่ภายในกรอบรูปสมาเหลี่ยมหน้าจั่ว ทั้งสามพิมพ์
2. ด้านหลัง
3. ด้านฐาน
4. ด้านซ้าย
5. ด้านขวา
1.พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ เป็นประติมากรรมนูนต่ำบนพื้นราบ ไม่มีอาสนะและเครื่องประดับตกแต่งใดๆ เบื้องพระปฤษฎางค์(หลัง) เป็นพื้นเรียบ ประดิษฐานภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลำพระองค์ตั้งตรง พระพักตร์รูปทรงผลมะตูม พระเกศาเรียบ ไรพระศกเป็นเส้นโค้งบนพระนลาฏ พระเกศรูปปลีกล้วย พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระศอแคบตื้น พระอุระนูนล่ำสัน สง่างาม อกผายไหล่ผึ่ง ครองจีวรแนบเนื้อ ห่มเฉียงเปิดพระอังสาซ้าย อบจีวรเป็นเส้นพาดใต้พระถันวกเลี้ยวเข้าใต้พระกัจฉะ สังฆาฏิเป็นแผ่นนูน พาดจากพระอังสา ลงทาบพระอุระจรดพระนาภี พระพาหาทั้งสองทอดลงขนานลำพระองค์ พระกรขวาหักพระกัประยงขึ้นพระหัตถ์วางคว่ำกุมพระชานุในลักษณะเข่านอก พระกรซ้ายหักพระกัประพับเข้าใน เป็นเส้นโค้งเล็กปลายแหลม เหมือนเบ็ดตกกุ้งวางลอยเหนือพระเพลา พระชงฆ์ขวาพับเข้าในเป็นเส้นโค้งเล็กวางลอยบนพระชงฆ์ซ้าย เป็นเส้นลอนใหญ่ ที่วางราบกับพื้น พระพิมพ์อยู่ภายในกรอบรูปสมาเหลี่ยมหน้าจั่ว ทั้งสามพิมพ์
2.วัสดุใช้สร้าง
ประกอบด้วย ดินท้องที่จังหวัดพิษณุโลก ขุดจากใต้ผิวดิน ลึกพอสมควร
ให้ได้ดินบริสุทธิ์ เป็นผงละเอียด มีแร่ธาตุและกรวดทรายตามธรรมชาติหลายร้อยชนิด
อายุเป็นแสนเป็นล้านปี ผุพังลายตัวเป็นดินละเอียดรวมทั้งกรวดทรายก้อนโตปะปนอยู่ด้วย
เช่น หินกรวดตระก๔ลควอตซ์สีขาวใส ขาวขุ่น สีน้ำตาลใส สีชมพูเรื่อๆ
รวมทั้งแร่ดอกมะขาม นำมาบดเป็นผง กรองเอากรวดทรายก้อนโตออกไป ผสมว่านเป็นมงคล
ตากแห้งบดเป็นผง ใส่น้ำมนตร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวประสาน
นวดให้ข้นเหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อน คลึงเป็นท่อนยาว ตัดแบ่งเป็นก้อนเล็ก
กดในแม่พิมพ์ ถอดออกจากแม่พิมพ์ หงายด้านหน้าขึ้น ตัดขอบด้วยของมีคม ให้ชิดองค์พระมากที่สุด
เมื่อได้จำนวนที่ต้องการแล้ว นำมาตากในร่มให้แห้ง นำเข้าเตาอบเผาด้วยอุณหภูมิ 750
องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงอ่อน
เนื้อแกร่งจากกรวดทรายที่ผสม เนื้อแน่นจากการละลายของผงดิน
เนื้อนุ่มจากการผสมพืชว่าน เนื้อสีสวยจากการละลายของแร่ดอกมะขาม
พิมพ์ใหญ่พิเศษและพิมพ์เล็กเนื้อหยาบ
ด้านหน้าและหลังมีกรวดทรายก้อนโตผุดขึ้นบนผิวหนาตา
พิมพ์ใหญ่นิยม
เนื้อละเอียดเนียนนุ่ม ด้านหลังเม็ดกรวดทรายจมในเนื้อ มีโผล่ขึ้นบนผิวเล็กน้อย
เมื่อเป็นพระกรุ
ก็ต้องมีคราบไคลขี้กรุ เป็นผงดินละเอียดสีดำ เคลือบบางๆติดตามซอกลึกและพื้นผิวเป็นหลุมบ่อ
ดูเป็นธรรมชาติ อย่าล้างออกเป็นอันขาด ถ้าล้างออกหมดจะกลายสภาพเป็นใหม่ทันที
นอกจากเซียนพระเท่านั้น ที่จะดูออกว่า เป็นพระกรุโบราณ
3.ยุคสมัย
ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์ดินเผานูนต่ำ หน้าเดียว ด้านหลังเรียบ
รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว สร้างราวพ.ศ. 2095-2100 อายุถึงปัจจุบัน พ.ศ.2560 ราว 460
ปี จัดสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตรี มเหสีของพระมหาธรรมราชา
พระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งครองเมองพิษณุโลก
ให้ช่างหลวงออกแบบและจัดหาวัสดุมาใช้สร้างพระพิมพ์
พุทธศิลป์เป็นศิลปะอยุธยายุคกลาง ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์
ปลุกเสกโดยคณาจารย์พระสงฆ์ผู้ทรงอภิญญา สำเร็จแล้ว นำบรรจุในกรุพระเจดีย์วัดนางพญา
เมื่อครั้งสร้างวัดนางพญาและพระเจดีย์ พ.ศ. 2090
แตกกรุจากวัดนางพญาตั้งแต่พ.ศ.2442-2444 เป็นครั้งแรก เมือพระเจดีย์พังล้มลง
มีพระพิมพ์นางพญาทุกพิมพ์ อย่างมากมาย
กระจัดกระจายอยู่รวมกับเศษซากอิฐซากปูนเต็มลานวัด
เด็กวัดไม่รู้คุณค่านำพระพิมพ์มาโยนเล่นกัน พระสงฆ์รูปหนึ่งมาพบเห็นเข้า
จึงเก็บรวบรวมไว้ส่วนหนึ่ง นำบรรจุในพระเจดีย์องค์เล็กๆริมกำแพงวัด
เศษซากอิฐและปูนระดมพลพระสงฆ์ เณรและเด็กวัดขนไปถมสระน้ำภายในวัด
และคงมีพระพิมพ์ส่วนหนึ่งผสมไปด้วยจนบัดนี้ ยังไม่มีการกู้ขึ้นมา
ปัจจุบัน
พระพิมพ์นางพญาจัดเข้าเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีที่มีผู้คนนิยมมากและหายากอย่างยิ่ง
เป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง จึงไม่พบเห็นได้ง่ายในปัจจุบัน มีการเช่าซื้อกันราคาสูง
พุทธคุณ เมตตามหานิยม
มหาเสน่ห์ เป็นที่รักของคนทั่วไป แคล้วคลาด คงกระพัน พุทธคุณสูง
มีประสบการณ์มากมาย เช่น
1.มหาเสน่ห์ สามี-ภรรยาคู่หนึ่ง
สามีให้ภรรยาห้อยคอด้วย พระพิมพ์นางพญากรุวัดนางพญาฯ
นานวันเข้ามักจะมีผู้ชายมาชอบพอ ต่างก็แวะเวียนกันมาพบปะพูดคุย
ด้วยเสมอชนิดที่เรียกว่า หัวกรไดไม่แห้ง จนสามีสังเกตเห็นความไม่ชอบมาพากล
เกิดความหึงหวง เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว สรุปได้ว่าคงเกิดจากพระพุทธคุณมหาเสน่ห์ของพระนางพญา
จึงยึดคืนจากภรรยา ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่มีชายใดแวะเวียนมาจีบแทะโลมอีกเลย
2.นิรันตราย
ทหารคนหนึ่งห้อยพระนางพญาองค์เดียง เป็นพระประจำตัว
ประจำอยู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับทหารคนอื่นๆ
เป็นหมู่ลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน เกิดปะทะกับผู้ก่อการร้าย
ต่างใช้อาวุธสงครามยิงต่อสู้กัน เมื่อผู้ก่อการร้ายหลบหนีไป เหตุการณ์สงบลง
ปรากฏว่าเพื่อนทหารหลายนายเสียชีวิต อีกหลายคนบาดเจ็บ
แต่ทหารที่ห้อยพระนางพญาแคล้วคลาดปลอดภัย ไม่ได้รับอันตรายและบาดเจ็บแต่อย่างไร
แสดงถึงพระพุทธคุณนิรันตราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น