วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงดำ เกศทะลุซุ้ม, พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงดำ สังฆาฏินูน

 
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงดำ เกศทะลุซุ้ม


 
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงดำ สังฆาฏินูน

พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงดำ
พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ฐานลอย 3 ชั้น ชั้นบนเป็นทรงกระบอกยาวตัน ชั้นกลางเป็นฐานแท่นขาสิงห์รูปคมขวาน ชั้นล่างฐานแบนเรียบตัน ปลายสองข้างตัดเฉียงสอบขึ้นบน องค์พระมีพระวรกายเรียวยาว พระเสียรกลม พระเมาลีลางเลือน พระเกศเปลวเล็กยาวแหลมพลิ้วจรดใต้ซุ้ม พระพักตร์รูปไข่เรียบเกลี้ยง ไม่ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ พระกรรณเป็นเส้นยาวรางๆด้านซ้ายองค์พระ พระศอเป็นเส้นตื้นลางเลือน ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง สังฆาฏิพาดยาวถึงพระนาภี พระพาหาทั้งสองข้างทอดลงขนานลำพระองค์ หักพระกัประ พระกรพับเข้าใน พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระหัตถ์ซ้ายประสานวางบนพระเพลาในลักษณะทรงสมาธิ พระชานุทั้งสองหักพับพระชงฆ์เข้าใน พระชงฆ์ซ้ายและพระบาทวางราบบนพื้นทาบพระชงฆ์ขวา ในลักษณะขัดสมาธิราบ องค์พระและฐานสามชั้นประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มครอบแก้วเส้นหวายผ่าครึ่ง ยอดโค้งครึ่งวงกลม แบบศิลปะโกธิคโบราณของชาวตะวันตก กรอบด้านนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเส้นนูนเล็กๆที่เรียกกันว่าเนื้อปลิ้น เป็นที่สังเกตในการตัดขอบไม่ให้ล้ำเข้ามาในพระพิมพ์ ด้านหลังองค์พระแบนเรียบ กดทับพิมพ์ด้วยวัสดุแข็งแผ่นแบนเรียบ เมื่อถอดพระออกจากพิมพ์แล้ววางหงายด้านหน้าขึ้น ตัดขอบด้วยของมีคมจากด้านหน้าไปด้านหลัง สันขอบพระพิมพ์สี่ด้านมีรอยขรุขระตามมวลสารที่หลุดออกไป

1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย ผงถ่านดำของใบลานและสมุดข่อยที่ลงอักขระเลขยันต์เสื่อมสภาพการใช้งานผุพังลบเลือน ตัดเป็นชิ้นเล็กใส่ในบาตรหรือหม้อดินปิดฝาสุมไฟเผาภายนอกเหมือนการเผาถ่านฟืนในอุโมงค์ดิน ได้ผงถ่านสีดำไม่มีขี้เถ้า ผสมกับผงวิเศษทั้งห้าได้แก่ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเหและผงพุทธคุณได้จากใช้แท่งดินสอที่ทำจากดินสอพอง เขียนคาถาที่เป็นมงคล อักขระเลขยันต์บนแผ่นกระดาน ลบแล้วเขียนดังนี้เรื่อยไป จนได้ผงฝุ่นดินสอพองที่มีคุณวิเศษมากพอ เก็บไว้แล้วนำมาแบ่งผสม และยังมีผงดินเผาพระกำแพงทุ่งเศรษฐีที่ชำรุดแตกหัก ข้าวสุกเป็นข้าวก้นบาตรที่เหลือจากการขบฉัน เกสรดอกไม้บูชาพระเหล่านี้ นำมาคลุกเข้าด้วยกัน โขลกตำให้แหลก สุดท้ายใส่น้ำมันตังอิ้วเป็นตัวประสาน นวดเข้ากันเหนียวเป็นเนื้อเดียว ปั้นกลึงเป็นเว้นกลมยาว ตัดเป็นท่อน ผ่าครึ่ง นำไปกดในแม่พิมพ์ ถอดพระออกจากพิมพ์ ตัดขอบ วางเรียงผึ่งในกระด้งให้แห้ง ได้พระพิมพ์เนื้อสีดำ แข็งแกร่ง ผิวเป็นมันวาวงดงาม มีมวลสารสีขาว สีแดงดินเผา ทองคำเปลวชิ้นเล็กๆ ผุดขึ้นบนผิวตัดกับสีดำของเนื้อพระอย่างชัดเจน มีแป้งโรยพิมพ์สีขาวผสมกับสีดำของผงถ่าน รวมเข้าด้วยกันเปลี่ยนสภาพเป็นสีเทา เคลือบติดแน่นเฉพาะด้านหน้า พระพิมพ์ไม่ได้บรรจุกรุ จึงไม่มีคราบไคลขี้กรุ
ขนาด ฐานกว้าง 2.4 ซม. สูง 3.7 ซม. หนา 5 มม.

2.ยุคสมัยการสร้าง ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์เนื้อผงใบลานเผาสีดำ สมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ยุดกลางผสมศิลปะสุโขทัย กำเนิดระหว่างปี พ.ศ. 2409-2415 อายุถึงปัจจุบัน พ.ศ.2559 ประมาณ 134-150 ปี สร้างโดยสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ
พระพิมพ์สมเด็จวัดระฆังผงดำ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ สร้างขึ้นมีจำนวนน้อยมาก อาจพูดได้ว่ามีเพียงครกเดียว ไม่มีอีกแล้ว เพราะวัสดุที่ใช้สร้าง คือใบลานเก่าและสมุดข่อยที่เจ้าประคุณให้พระเณรเก็บรวบรวมจากวัดระฆังรวมทั้งเสาะหาจากวัดอื่นมีจำนวนจำกัดหาไม่ได้อีกแล้ว เมื่อสร้างเป็นพระพิมพ์ผงดำจนหมดครกแล้ว ปลุกเสกแจกจ่ายออกไปจนหมด ผู้เป็นเจ้าของจึงหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่ปรากฏ หมุนเวียนให้ผู้คนรุ่นหลังได้รู้จักเรียกว่า สาบสูญไปเลยก็ย่อมได้ เหมือนกับว่าเจ้าประคุณฯไมได้สร้างขึ้นมาเลย จนกระทั่งจวบถึงยุคชาววิไล ปัจจุบันขณะนี้เองจึงได้เผยโฉมขึ้น ประดุจดังพระประธานทองคำวัดไตรมิตรที่เผยโฉมขึ้น แสดงตนให้เป็นที่ประจักษ์ เมื่อครั้งพ.ศ.2500 กึ่งพุทธกาล
พระวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ที่มีน้อย นับว่าเป็นพิมพ์ที่หายากที่สุดแล้ว พระพิมพ์สมเด็จวัดระฆังผงดำ ใบลานเผานี้ นับว่าหายากกว่า เป็นร้อยเท่าพันทวี ยากที่จะพบเห็น และครอบครองได้ในปัจจุบัน วงการนักนิยมพระเครื่อง ทั้งรู้และไม่รู้ จึงเรียกพระสมเด็จวัดระฆังชนิดนี้ว่า “พระนอกพิมพ์” หมายความว่า ไม่ได้รับความนิยมเล่นหากัน แต่ถ้าพิจารณาและสังเกตให้ดีจะเห็นได้ว่า เป็นพิมพ์เดียวพิมพ์นิยม และใช้แม่พิมพ์ตัวเดียวกัน ต่างกันตรงที่เป็นวัสดุมวลสารที่ใช้สร้างเท่านั้น


พุทธคุณ พระสมเด็จวัดระฆัง ที่เจ้าประคุณ สร้างขึ้นนั้น ท่านประสงฆ์ แจกให้เฉพาะคนดีมีศีลธรรมครอบครองเป็นเจ้าของเท่านั้น คนเลวคนชั่วไม่มีสิทธิ์ครอบครอง องค์พระพิมพ์สามารถมีปาฏิหาริย์ ทั้งไปเองมาเองได้ มีพุทธคุณสูงด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ เมตตามหานิยม รวมทั้งรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้อาราธนาลงน้ำทำน้ำมนต์อธิษฐานดื่มกิน โดยมีหลักฐาน ทำน้ำมนต์รักษาโรคห่าลงเมือง ปีระกา พ.ศ. 2416
พุทธคุณพระสมเด็จวัดระฆังนี้ ผู้ครอบครอง เป็นเจ้าของ ต่างมีประสบการณ์มากมาย ไม่สามารถบรรยายได้ในที่นี้ ผู้คนทั้งหลายจึงพยายามเสาะหาเป็นเจ้าของ เมื่อได้มาแล้วจึงหวงแหน เป็นอย่างยิ่ง ไม่เฉพาะชาวไทยเท่านั้น รวมถึงชาวต่างชาติด้วย พระพิมพ์มีอายุยาวนาน เป็นวัตถุโบราณไปแล้ว มีจำนวนจำกัด คนต้องการมีมาก จึงหายากไม่สมดุลกัน เหมือนพระเครื่องชนิดอื่นๆ


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ






วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน พิจิตร ๓

 

รายละเอียดจากใต้ฐาน บ่งชี้ให้เห็นชัด
1. มีรอยก้านช่อหล่อ
2. มีรอยตะใบตัด
3. เป็นธรรมชาติ
4. เนื้อโลหะสวยงาม
5. มีความเก่าถึงยุค

พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร องค์อื่นๆ






เหรียญเสมาหลวงพ่อเดิม ปี ๒๔๗๐ วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์

 


พระหลวงพ่อเดิม พิมพ์อื่นๆ






พระนางเหลียว กรุวัดมหาวัน ลำพูน

 

พระลักษณะ องค์พระนางทรงอยู่ในลักษณะเทวรูป ครึ่งองค์ ลอยองค์ ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ เป็นพระพิมพ์มีรายละเอียดเฉพาะด้านหน้า ประติมากรรมเป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์นี้โดยเฉพาะ พระวรกายอวบสมบูรณ์ ปรากฏพระถันทั้งสองข้างแสดงให้รู้ว่าเป็นสตรี พระเศียรสวมเทริดแบบขนนกมีกรอบกระบังหน้า พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยม พระขนงเป็นเส้นยาวนูนติดกัน เชิดปลายขึ้นรูปนกบิน เชื่อมติดสันพระนาสิก มีรอยบุ๋มรูปเมล็ดงากึ่งกลางพระนลาฏเหนือพระขนง พระเนตรเรียวแหลมลืมขึ้น มีจุดกลมเป็นหลุม แสดงถึงดวงพระเนตร พระนาสิกแบนป้าน พระโอษฐ์หนาแย้มเล็กน้อย พระปรางอูมอิ่ม พระกรรณยาวห้อยพระกุณฑลพาดบนพระอังสา พระศอยาวมีเส้นสามลอน สวมสังวาลเหนือพระอุระ ทรงภูษาแนบเนื้อหุ้มพระถันเป็นลอน เปิดพระอุทร พระนาภีบุ๋ม มีเครื่องรัดรูปมงกุฎเหนือพระอุทรยกพระถันขึ้น พระกรทั้งสองยกขึ้นแบพระหัตถ์ไปข้างหน้า ในท่าห้ามสมุทร ลำพระองค์ตั้งแต่พระกฤษฎีลงไปไม่ปรากฏ เป็นการตั้งใจให้ประติมากรรมชิ้นนี้มีเพียงครึ่งองค์เท่านั้น
ด้านหลังผิวเรียบเป็นมัน กดแต่งหนาบางโค้งนูนตามสภาพองค์พระด้านหน้า บรรจบกับขอบข้างเป็นสันคมบางเหมือนคมขวานได้พอดีโดยไม่มีการตัดขอบ

1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย ดินเหนียว, กรวดทราย, ผงศิลาแลง, ว่าน108, ข้าวสุกเป็นตัวยึดมวลสาร โลกตำผสมเป็นเนื้อเดียว ใส่น้ำนวดให้ข้นเหนียว ปั้นเป็นก้อน กดพิมพ์แบบ ผึ่งในที่ร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีเหลืองอ่อน แข็งแกร่ง ผิวเรียบ คราบไคลขี้กรุมีเฉพาะด้านหน้าเป็นเม็ดทรายละเอียดผสมผงดินกรุสีดำติดตามซอกลึก มีราดำประปราย พระพิมพ์นี้มีเนื้อหนามาก ถ้าพิจารณาไม่ดีแล้ว อาจคิดว่าเป็นรูปปั้น แล้วมีรายละเอียดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขนาด กว้างฐาน 1.5 ซม. กว้างแนวหน้าอก 3.7 ซม. สูง 6 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยทวาราวดีตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 900 ปี ร่วมสมัยกับยุคลพบุรีตอนต้น ลักษณะพระนาสิกใหญ่ป้าน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์ใหญ่ เป็นศิลปะทวาราวดี ลักษณะทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ทรงเทริดขนนก พระพักตร์สี่เหลี่ยม เป็นศิลปะลพบุรี เมื่อรัฐทวาราวดีที่ละโว้เริ่มเสื่อมอำนาจลง ขอมกัมพูชาได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามาครอบครองรวมทั้งรัฐหริภุญชัยที่เป็นเมืองบริวารเดิมด้วย ผู้สร้างจึงเป็นช่างมอญหริภุญชัยกับช่างขอมละโว้ประยุกต์ศิลปะสองสมัยเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน เมื่อพิจารณาให้ดีตามพงศาวดารแล้ว เทวรูปเคารพนี้ ก็คือ พระนางจามเทวี ปฐมกษัตรีแห่งรัฐนครหริภุญชัยโบราณ ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 1209-1213 พระพิมพ์เป็นรูปสตรีโดดๆหนึ่งเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพระพิมพ์รูปสตรีนี้อีกเลยจนถึงปัจจุบัน

พุทธคุณ พระนางจามเทวีเป็นหญิงชาตินักรบ พุทธคุณจึงสูงด้านคงกระพัน, มหาอุด, แคล้วคลาด

พระประธานสุโขทัย กรุอยุธยา

 

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งบนฐานชุกชีเป็นประธานภายในพระอุโบสถ พระวรกายมีพระอุระอวบใหญ่ผึ่งผาย พระอุทรเรียวคอดเป็นลอน พระเศียรกลม พระเกศาขมวดเป็นเม็ดพระศก พระเมาลีเป็นมวยเล็กแบน พระเกศายาวแหลมเป็นเปลวคดกริช พระพักตร์รูปไข่เรียบ ไม่ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระศอแคบเป็นลอน ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง สังฆาฏิพาดยาวจรดพระนาภี พระพาหาทั้งสอง้างทอดลงขนานลำพระองค์พระกรหงายขึ้น พระหัตถ์วางคว่ำบนพระชานุในลักษณะเข่านอก พระกรซ้ายพับเข้าใน หงายพระหัตถ์บนพระเพลา พระชงฆ์ขวาพับเข้าในหงายพระบาทวางบนพระชงฆ์ซ้ายในลักษณะขัดสมาธิราบ ประทับนั่งบนฐานชุกชีเป็นแท่นยกขึ้นสองชั้นบนพื้นอุโบสถ ด้านข้างทั้งสององค์ขององค์พระ เป็นเสากลมก่อด้วยศิลาแลงตั้งตรงสูงขึ้นไปลอยๆ โดยไม่มีหลังคาที่พังทลายไปหมดแล้ว ด้านหลังองค์พระเป็นฝาผนังแผ่นศิลาแลง ก่อสลับก้อนสูงขึ้นไปเช่นเดียวกับเสาศิลาแลง พื้นพระอุโบสถก่อศิลาแลงยกสูงขึ้นจากพื้นดิน มีบันไดสามขั้น ทั้งหมดอยู่ในกรอบพระพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมยอดโค้งเป็นวงรี ขอบข้างทำให้กะเทาะดูเสมือนสภาพจริง การผุพังของฝาผนัง ด้านหลังพระพิมพ์ กดพิมพ์ด้วยแผ่นไม้ มีลายนิ้วมือปรับแต่งผิวให้แบนเรียบร้อย ปรากฏรูพรุนเข็มหมุดของกรวดทรายขนาดเล็กหลุดออกอยู่ทั่วไป แต่งขอบข้างบรรจบด้านหน้าบางเหมือนคมมีดได้พอดี ไม่มีการตัดขอบ

1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย ดินเหนียวผสมกรวดทราย, ผงศิลาแลง, กรองละเอียด ว่าน108, ข้าวสุกเป็นตัวยึดมวลสาร โขลกตำผสมเป็นเนื้อเดียว ใส่น้ำนวดให้ข้นเหนียว ปั้นเป็นก้อน กดพิมพ์แบบ ผึ่งในร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ
1,000 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาเนื้อสีแดงส้ม แข็งแกร่ง ผิวขรุขระเล็กน้อย เนื้อหยาบ มีรูพรุนเข็มหมุดทั่วไป เกิดจากเม็ดแร่กรวดทรายถูกเผาละลายหลุดออกไป มีคราบไคลขี้กรุมากด้านหน้าเป็นผงหินปูนสีขาวติดผิว ชั้นบนเป็นผงดินหินปูนสีขาวติดผิว ชั้นบนเป็นผงดินโคลนสีเทาแห้งแล้วคลุมทับอีกชั้น
ขนาด กว้างฐาน 4.5 ซม. สูง 5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ 21 อายุ 400 ปี เป็นศิลปะสร้างล้อศิลปะสุโขทัย ผู้สร้างเป็นชาวอยุธยา ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวสุโขทัย ได้อพยพมาอาศัยอยู่ในพะนครศรีอยุธยา หลังจากรัฐสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง ได้ไปเห็นสภาพวัดวาอารามต่างๆในเมืองสุโขทัยขาดคนดูแลบำรุงรักษา กลายเป็นวัดร้างปรักหักพัง เหลือแต่องค์พระประธาน เสาและฝาผนัง จึงได้จำลองสภาพที่เห็นมาสร้างไว้ในพระพิมพ์เป็นหลักฐานคงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ศึกษา และจดจำสภาพในอดีต

พุทธคุณ คุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆ แคล้วคลาด ประดุจดังองค์พระประธานที่ยังคงดำรงอยู่จนปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เหรียญทรงผนวช 2499

 

เหรียญทรงผนวช 2499
เสด็จสมโภชพระเจดีย์ทองบวรนิเวศ 29 สิงห์ 2508

เป็นเหรียญพระราชทาน ณ ที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต3 จังหวัดอุบลราชธานี


เหรียญเสมา อนุสรณ์มหาราช

 

เป็นเหรียญพระราชทานจากพระหัตถ์ของสมเด็จย่า พระราชทาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ด้านหลังมีพระปรมาภิไธย ย่อ “ส.ว.”


วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่ กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี

 

พระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่ กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี มีรูปทรงห้าเหลี่ยม องค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัย ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระเกศทะลุซุ้ม


พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ