วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระพิมพ์คุปตะ-ทวาราวดี ปางสมาธิ กรุนครปฐม

 

พุทธลักษณะ ปางสมาธิองค์พระประทับนั่งราบขัดสมาธิเพชร บนรัตนบัลลังก์บัวหงายสองชั้น พระสรีระผอมบาง ครองจีวรห่มคลุมบางแนบเนื้อ แขนผอมเรียว พระหัตถ์เรียวเล็ก วางประสานบนหน้าตัก พระบาทใหญ่ พระพักตร์ยาวแบบหน้าชาวอินเดีย พระขนงยาว พระเนตรโปน พระนาสิกป้าน พระโอษฐ์แบะ พระเกศาเรียบ พระเมาลีเป็นต่อมใหญ่ ไม่ปรากฏพระกรรณ ด้านหลังพระเศียร มีประภามณฑลเป็นเม็ดกลม 12 เม็ด เรียงเป็นวงกลมรอบพระเศียรด้านสองข้างรอบองค์พระ ด้านนอกประกอบด้วยแท่นบูชายกสูง มีเสาเป็นปล้องรองรับสองต้น ด้านในชิดองค์พระเป็นฉัตรห้าชั้นมีเสายกสูง ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปกลมรี ด้านหลังพระพิมพ์โค้งนูนเรียบมีลายมือตกแต่งพิมพ์โค้งลงขอบพิมพ์โดยรอบ

1.วัสดุใช้สร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมเป็นดินเหนียว มีกรวดทรายเล็กน้อยบดกรองละเอียดผสมว่าน นวดให้เหนียว พิมพ์แบบ เมื่อเผาแล้ว ได้พระพิมพ์ดินเผาสีน้ำตาล เนื้อแน่นแข็งแกร่ง ไม่มีรอยร้าวหรือหักแตกบิ่น
คราบไคลขี้กรุ เป็นดินโคลน แห้งสนิทจับติดแน่นบนผิวพระพิมพ์ทั้งหน้าและหลัง
ขนาดฐานกว้าง 4 ซม. สูง 5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง พุทธศิลป์เป็นแบบผสมศิลปะคุปตะยุคหลังของอินเดีย กับศิลปะทวาราวดียุคต้น สร้างที่เมืองนครปฐม ซึ่งเป็นศูนย์กลางยุคทวาราวดีโบราณต่อจากเมืองอู่ทองสุวรรณภูมิที่ค่อยๆเสื่อมลงราวพุทธศตวรรษที่ 11 อายุ 1,400 ปี ชนชั้นปกครองใช้ศิลปะทวาราวดีสร้างเป็นพระพิมพ์ดินเผาขึ้น เพื่อสืบต่อพระศาสนา เป็นพระพิมพ์มีชื่อว่า “พระพิมพ์คุปตะ-ทวาราวดี”

พุทธคุณ นิรันตรายภัยพิบัติทั้งปวง

พระพิมพ์อมราวดี-สุวรรณภูมิ ปางประทานอภัย กรุอู่ทอง อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี

 

พุทธลักษณะ ปางประทานอภัย องค์พระประทับนั่ง ห้อยพระบาทบนรัตนบัลลังก์ยกสูง พระบาทสองข้างวางบนฐานรูปดอกบัวบานชั้นเดียว ครองจีวรห่มคลุม จีวรบางแนบเนื้อ พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ พระหัตถ์ซ้ายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวายกขึ้นหงายฝ่าพระหัตถ์เสมอไหล่ พระพักตร์แบนกว้าง พระขนงยาว พระเนตรโปน พระนาสิกป้าน พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวจรดไหล่ พระเกศาและพระเมาลีทำเป็นเม็ด ไม่มีพระเกศ ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปใบหอก ด้านหลังพระพิมพ์อูมนูน ปรากฏลายมือตกแต่งลู่ลงขอบข้างบางเหมอนคมมีด

1.วัสดุใช้สร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมเป็นดินเหนียว ผสมกรวดทราย และว่าน บดกรองละเอียด นวดให้เหนียว เมื่อเผาแล้วได้พระพิมพ์ดินเผาน้ำตาล เนื้อหยาบเล็กน้อย ด้วยกาลเวลาอันยาวนาน ผิวพระพิมพ์จะหดตัว มวลสารขนาดเล็กจะหลุดออก เกิดหลุมรูพรุนเข็มหมุดทั่วไป คราบไคลขี้กรุ เป็นผงดินละเอียดบางๆ เคลือบบนผิวทั้งองค์ ด้านหลังมีฝ้าสีดำรารัก
ขนาด ฐานล่างแนวพระบาทกว้าง 2.7 ซม. สูง 5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง พุทธศิลป์เป็นแบบผสมศิลปะอมราวดีของอินเดียกับศิลปะทวาราวดียุคต้น สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 อายุ 1,500 ปี เมื่อชาวอินเดียอพยพเข้ามายังเมืองอู่ทองโบราณ ศูนย์กลางอาณาจักรสุวรรณภูมิสมัยนั้น ได้นำเอาศิลปะการสร้างพระพุทธรูปมาเผยแพร่ ตั้งแต่ศิลปะ คันธาระ มถุระ อมราวดี คุปตะ ปาละ-เสนา ผู้ปกครอง ได้เลือกเอาศิลปะอมราวดีมาผสมกับศิลปะทวาราวดี  สร้างเป็นพระพิมพ์ดินเผานี้ขึ้น เพื่อสืบต่อพระศาสนา เป็นพระพิมพ์มีชื่อว่า “พระพิมพ์อมราวดี-สุวรรณภูมิ”

พุทธคุณ นิรันตรายภัยพิบัติทั้งปวง

พระพิมพ์อมราวดี-สุวรรณภูมิ ปางปฐมเทศนา กรุอู่ทอง อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี

 

พุทธลักษณะ ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) องค์พระประทับนั่ง ห้อยพระบาทบนรัตนบัลลังก์ยกสูง พระบาทสองข้างวางบนฐานรูปดอกบัวบานชั้นเดียว พระสรีระคล้ายมนุษย์จริง ครองผ้าห่มคลุม กลีบจีวรเป็นริ้ว พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ พระพักตร์แบนกว้าง พระขนงยาว พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระกรรณยาวจรดไหล่ พระเกศาและพระเมาลีทำเป็นเม็ด ไม่มีพระเกศ ประภามณฑลเป็นวงกลมด้านหลังพระเศียร ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปใบพาย ด้านหลังพระพิมพ์แบนอูมโค้งเล็กน้อย ปรากฏลายนิ้วมืออยู่ทั่วไป

1.วัสดุใช้สร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมเป็นดินเหนียวบดกรองละเอียด ปราศจากเม็ดกรวดทราย ผสมว่าน นวดให้เหนียว เหมือนทำเครื่องเคลือบเซรามิค เมื่อเผาแล้วได้พระพิมพ์ดินเผาสีพิกุล (แดงคล้ำ) แข็งแกร่งไม่แตกหักบิ่นง่ายๆ ด้วยกาลเวลาอันยาวนาน พระพิมพ์จะเกิดริ้วรอยหดเหี่ยวยับย่นทั่วไปและนุ่มเนียน
คราบไคลขี้กรุ เป็นผงดินละเอียด ติดแน่นตามซอกผิวทั่วไปทั้งด้านหน้าและหลัง
ขนาดฐานบัวกว้าง 2 ซม. สูง 6.5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง พุทธศิลป์เป็นแบบผสมศิลปะอมราวดีของอินเดียกับศิลปะทวาราวดียุคต้น สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 อายุ 1,500 ปี เมื่อชาวอินเดียอพยพเข้ามาอาณาจักรสุวรรณภูมิสมัยนั้น ได้นำเอาศิลปะการสร้างพระพุทธรูปมาเผยแพร่ตั้งแต่ศิลปะ คันธาระ มถุระ อมราวดี คุปตะ ปาละ-เสนา ผู้ปกครอง ได้เลือกเอาศิลปะอมราวดีมาผสมกับศิลปะทวาราวดี  สร้างเป็นพระพิมพ์ดินเผานี้ขึ้น เพื่อสืบต่อพระศาสนา เป็นพระพิมพ์มีชื่อว่า “พระพิมพ์อมราวดี-สุวรรณภูมิ”

พุทธคุณ นิรันตรายภัยพิบัติทั้งปวง

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระใบปรกโพธิ์หอก เชียงแสน

 

พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ดินเผารูปใบหอก ปางมารวิชัย ครองจีวรแนบเนื้อ เปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดไหล่ซ้าย ปลายสังฆาฏิยาวถึงพระอุระ พระพักตร์อูมนูนคล้ายผลมะตูม ไม่ปรากฏพระกรรณ พระเกศา พระเมาลี เล็กมีเม็ดพระศก พระเกศสั้นเรียวแหลม ประทับนั่งราบบนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงายสองชั้น หน้าตักเข่ากว้าง องค์พระผึ่งผายสง่า ไหล่กว้าง แขนขวาทอดเฉียงน้อยๆ พระหัตถ์วางเหนือเข่า แขนซ้ายทอดเฉียงหงายพระหัตถ์บนพระบาท เบื้องหลังพระเศียรมีซุ้มโพธิ์รับ มีใบโพธิ์นูนเด่นอยู่ภายในกรอบประภามณฑลรูปใบโพธิ์  ด้านหลังพระพิมพ์อูมนูนเล็กน้อย ตกแต่งด้วยนิ้วมือ ขอบโค้งมนบรรจบลงขอบข้างโดยรอบ

1. วัสดุการสร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมประกอบด้วยดินเหนียว กรวดทรายกรองละเอียด ผงศิลาแลง เผาแล้วเป็นดินเผาสีแดง คราบไคลขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีดำคล้ำ เคลือบเป็นฝ้าบางๆตามผิวพระพิมพ์

2. ยุคสมัยและศิลปะการสร้าง พระเครื่องสกุลเชียงแสน มีมากมายหลายแบบ อิทธิพลของศิลปะเชียงแสนจะครอบคลุมนครสำคัญของล้านนาในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง และลำพูนยุคหลัง พระปรกโพธิ์พิมพ์ต่างๆนั้นมีมากมายกว่าพิมพ์อื่นๆ
พระพิมพ์สกุลเชียงแสน สร้างระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-21 มีอายุ 500-1,000 ปี สันนิษฐานตามอายุของการสร้างวัด เจดีย์ต่างๆของอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง (เมืองเชียงแสนโบราณ)

3. ผู้สร้าง พระพิมพ์ดินเผาปรกโพธิ์ใบหอกองค์นี้ เป็นฝีมือช่างโบราณชาวบ้าน ผู้สร้างมีเจตนาสร้างไว้เผื่อสืบพระบวรพุทธศาสนาให้ยืนยาวถาวร บรรจุกรุไว้ในพระวิหาร โบสถ์และเจดีย์ เมื่อมีการสมโภชพระเครื่องเหล่านี้ ก็ได้รับการสมโภชปลุกเสกอยู่ตลอดเวลาจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณเช่นกัน


พุทธคุณ พระเครื่องสกุลเชียงแสน มีพุทธคุณสูงด้านอำนวยโชคลาภ และพุทธานุภาพด้านอยู่ยงคงกระพันเป็นมหาอุตม์ แคล้วตลาดดียิ่งนัก

พระแก้วสีม่วงใส กรุฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

 

พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปลอยองค์ขนาดเล็ก ปางสมาธิ ครองจีวรแนบเนื้อ เปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดไหล่ซ้าย ปลายสังฆาฏิรูปแฉกชายโบว์ยาวจรดพระนาภี เอกลักษณ์ศิลปะเชียงแสนสิงห์สาม พระพักตร์สลักเป็นรูปหน้ามนุษย์ พระกรรณยาวจรดไหล่ พระเกศาและพระเมาลีเรียบเกลี้ยงไร้เม็ดพระศก พระเกศจีมสั้นรูปดอกบัวตูม ประทับนั่งราบบนบัลลังก์ฐานเขียงชั้นเดียว

1. วัสดุที่ใช้สร้างองค์พระ สร้างด้วยหินแก้วผลึกสีม่วงใส เรียกชื่อสากลว่า “อเมทีส” เป็นอัญมณีพลอยเนื้ออ่อน หินเขี้ยวแก้วหนุมาน แกะสลักเจียรนัยผิวให้มันโปร่งแสง ปิดด้วยแผ่นทองคำเปลว แต่หลุดล่อนเหลือติดเพียงเล็กน้อย บางทีเรียกกันว่า “พระแก้วสีดอกบวบ”
คราบไคลขี้กรุ เป็นผงดินสีออกดำ มีกรวดทรายผสมอยู่เล็กน้อย ติดอยู่ตามซอกแขน และซอกขา
ขนาดหน้าตัก 2.2 ซม. สูง 3.2 ซม.

2. ยุคสมัยและศิลปะการสร้าง สร้างร่วมสมัยกับการสร้างพระแก้วมรกต แกะสลักตามแบบศิลปะเชียงแสน-พะเยา สมัยล้านนายุคต้นพุทธศตวรรษที่ 20 มีอายุ 600 ปี

3. ผู้สร้าง พ่อค้าชาวจีนนำหินแก้วผลึกเข้ามาค้าขายในสมัยโบราณและสอนการแกะสลักให้ชาวโยนกแกะสลักเจียรนัยพระพุทธรูป
เมืองฮอดเป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง มีวัดมากกมาย มีการเปิดกรุก่อนจะถูกน้ำท่วมหลังจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ได้พระแก้วผลึกจำนวนไม่น้อย จึงมีชื่อเรียกกันว่า “พระแก้วกรุฮอด” แม้จะพบจากที่อื่นก็ตาม


พุทธคุณ พระเครื่องสกุลเชียงแสนมีพุทธคุณสูงด้านอำนวยโชคลาภ และมีพุทธานุภาพด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นมหาอุตม์ และแคล้วคลาดดียิ่งนัก

พระแก้วสีน้ำผึ้งใส กรุฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

 

พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปลอยองค์ขนาดเล็ก ปางมารวิชัย ครองจีวรแนบเนื้อเปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดไหล่ซ้าย ปลายสังฆาฏิรูปแฉกชายโบว์เหนือพระถัน เอกลักษณ์ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง พระพักตร์สลักเป็นรูปใบหน้ามนุษย์ พระกรรณยาวจรดไหล่ พระเกศาและพระเมาลีเรียบเกลี้ยงไร้เม็ดพระศก พระเกศจีมสั้นรูปดอกบัวตูม ประทับนั่งราบบนบัลลังก์ฐานเขียงชั้นเดียว

1. วัสดุที่ใช้สร้างองค์พระ  สร้างด้วยหินแก้วผลึกควอตซ์สีน้ำผึ้งใส เรียกชื่อสากลว่า “ซิทรีน” เป็นอัญมณีพลอยเนื้ออ่อน หินเขี้ยวแก้วหนุมาน เมื่อได้หินมาแล้ว ช่างจะแกะสลักเป็นองค์พระแล้วเจียรนัยขัดผิวให้มันโปร่งแสง  ปิดด้วยแผ่นทองคำเปลว บรรจุลงในกรุด้วยกาลเวลาอันยาวนาน ทองจะหลุดล่อนออกไป เหลือติดอยู่เพียงเล็กน้อย พระแก้วสีน้ำผึ้งนี้มักเรียกกันว่า “พระแก้วบุษราคัม”
คราบไคลขี้กรุ เป็นผงดินสีออกดำ มีกรวดทรายผสมอยู่เล็กน้อย ติดอยู่ในซอกแขน และซอกลึกหน้าตักองค์พระ
ขนาดหน้าตัก 2 ซม. สูง 3.2 ซม.

2. ยุคสมัยและศิลปะการสร้าง พระแก้วสีน้ำผึ้งนี้ สร้างร่วมสมัยกับการสร้างพระแก้วมรกต มีรูปแบบเดียวกันตามแบบศิลปะเชียงแสน-พะเยา สมัยล้านนายุคต้นพุทธศตวรรษที่ 20 มีอายุ 600 ปี

3. ผู้สร้าง พ่อค้าชาวจีนนำหินแก้วผลึกเข้ามาค้าขายในสมัยโบราณและสอนการแกะสลักให้ชาวโยนก แทนที่ชาวโยนกจะนำหินมาทำเครื่องประดับ กลับนำหินมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กไว้บูชา และเป็นพุทธบูชาไว้ตามกรุวัดต่างๆ ทั่วไปในถิ่นล้านนา โดยเฉพาะที่เมืองฮอดมีมากที่สุด เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง มีวัดจำนวนมาก เมื่อมีการเปิดกรุก่อนที่จะถูกน้ำท่วม จากการสร้างเขื่อนภูมิพล ได้พระแก้วผลึกเหล่านี้จำนวนไม่น้อย จึงมีชื่อเรียกกันว่า “พระแก้วกรุฮอด” แม้จะพบจากที่อื่นก็ตาม


พุทธคุณ พระเครื่องสกุลเชียงแสนมีพุทธคุณสูงด้านอำนวยโชคลาภ และมีพุทธานุภาพด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นมหาอุตม์ และแคล้วคลาดดียิ่งนัก

พระแก้วน้ำผึ้งสีเข้ม กรุฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

 

พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปลอยองค์ขนาดเล็ก ปางสมาธิ ครองจีวรแนบเนื้อ เปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดไหล่ซ้าย ปลายสังฆาฏิรูปแฉกชายโบว์เหนือพระถัน เอกลักษณ์ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง พระพักตร์สลักเป็นรูปหน้ามนุษย์ พระกรรณยาวจรดไหล่ พระเกศาและพระเมาลีเรียบเกลี้ยงไร้เม็ดพระศก พระเกศจีมสั้นรูปดอกบัวตูม ประทับนั่งราบบนบัลลังก์ฐานเขียงชั้นเดียว

1. วัสดุที่ใช้สร้างองค์พระ สร้างด้วยหินแก้วผลึกน้ำผึ้งสีเข้มคล้ำ เรียกชื่อสากลว่า “ซิทรีน” เป็นอัญมณีพลอยเนื้ออ่อน หินเขี้ยวแก้วหนุมาน แกะสลักเจียรนัยผิวให้มันโปร่งแสง ปิดด้วยแผ่นทองคำเปลว แต่หลุดล่อนเหลือติดเพียงเล็กน้อย บางทีเรียกกันว่า “พระแก้วบุษราคัม”
ขนาดหน้าตัก 2 ซม. สูง 3.3 ซม.

2. ยุคสมัยและศิลปะการสร้าง สร้างร่วมสมัยกับการสร้างพระแก้วมรกต แกะสลักตามแบบศิลปะเชียงแสน-พะเยา สมัยล้านนายุคต้นพุทธศตวรรษที่ 20 มีอายุ 600 ปี

3. ผู้สร้าง พ่อค้าชาวจีนนำหินแก้วผลึกเข้ามาค้าขายในสมัยโบราณและสอนการแกะสลักให้ชาวโยนกแกะสลักเจียรนัยพระพุทธรูป
เมืองฮอดเป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง มีวัดมากมาย เมื่อมีการเปิดกรุก่อนจะถูกน้ำท่วมหลังจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ได้พระแก้วผลึกจำนวนไม่น้อย จึงมีชื่อเรียกกันว่า “พระแก้วกรุฮอด” แม้จะพบจากที่อื่นก็ตาม


พุทธคุณ พระเครื่องสกุลเชียงแสนมีพุทธคุณสูงด้านอำนวยโชคลาภ และมีพุทธานุภาพด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นมหาอุตม์ และแคล้วคลาดดียิ่งนัก

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระแปด ซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม กรุลำพูน

 

เป็นพระดินเผาขนาดใหญ่ งดงามมาก มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ ที่เรียกว่า พระแปดเพราะไม่นับเดียรถีร์สองตนที่นั่งคู้เข่าอยู่ด้านข้าง
พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นรูปปราสาทขอมโบราณเหมือนนครวัด มีองค์พระประทับนั่งที่ยอดซุ้ม ลดหลั่นกัน 7 องค์
ลักษณะองค์พระพุทธรูป ถือแบบอย่างศิลปะทวาราวดี คือพระเกศมาลาเป็นต่อมใหญ่สั้นและป้าน ไม่มีไรพระศก พระขนงยาว พระพักตร์ยาวแบบหน้าอินเดีย พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน จีวรแนบชิดติดพระองค์ ห่มดองเปิดไหล่ขวา ชายสังฆาฏิยาวจดพระนาภี พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ รองรับด้วยกลีบบัวหงายใต้ฐานบัวลูกแก้ว บนเศียรช้างสามเชือก ด้านซ้ายเป็นพระโมคคัลลานะ ด้านขวาเป็นพระสารีบุตรนั่งขัดสมาธิเพชร ขนาบด้วยเดียรถีร์ ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วสามชั้นภายในกรอบเส้นนูนสองเส้นรูปปลายใบหอกแหลม
ด้านหลังพระพิมพ์แบนราบมีลายมือกดแต่งเป็นคลื่นสูงต่ำทั่วไป ขอบข้างบางเหมือนใบมีด
1. วัสดุและทัพสัมภาระการสร้างพระ ส่วนผสมหลักคือดินเหนียว กรวดทรายศิลาแลง บดกรองละเอียด เมื่อเผาแล้วได้เนื้อพระแข็งแกร่ง ได้ดินเผาสีแดง คราบกรุเป็นดินโคลน เคลือบติดผิวแน่นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขนาดกว้างฐาน 8 ซม. สูง 11.5 ซม.
2. ยุคสมัยการสร้างและศิลปะ พระแปดเป็นพระร่วมสมัยทวาราวดีตอนปลายผสมกับศิลปะนครวัดแบบขอมโบราณพบที่กรุวัดประตูลี้ จังหวัดลำพูนเป็นครั้งแรกร่วมกับพระเลี่ยงหลวง และพระเลี่ยงพิมพ์นิยม นอกจากนี้ยังพบพระแปดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่นำมาจากหริภุญไชยมาฝากกรุไว้
3. ผู้สร้าง ราชวงศ์พระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์อาณาจักรหริภุญไชย แยกตัวอพยพจากกรุงละโว้มาสร้างนครหริภุญไชย เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นผู้สร้างบรรจุกรุไว้ ราวปลายยุคทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ 16-17 มีอายุการสร้างประมาณ 1,000 ปี ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนา และราชวงศ์กษัตริย์หริภุญไชยนครสิ้นสุดลงในพุทธสตวรรษที่ 17

พุทธคุณ เมตตามหานิยม ด้านแคล้วคลาดดีพอๆกับพระรอด