วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

พระพุทธรูปบูชารัตนโกสินทร์ยุคต้น จีวรดอก หน้าตัก ๕ นิ้ว

 

พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

 

พระใบขนุนเนื้อดิน กรุวัดมหาธาตุ สุโขทัย

 

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก มีลายกนก กำแพงเพชร

 

พระลีลาสรรค์ยืน กำแพงลิ้นเป็ด กรุกำแพงเพชร

 


พระลีลา องค์อื่นๆ






พระถ้ำเสือ พิมพ์เล็ก สุพรรณบุรี

 

เหรียญปล้องอ้อยหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ๒๕๑๘

 

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

พระลือหน้ายักษ์ พิมพ์ใหญ่ กรุลำพูน (องค์ที่ ๒)

 

พระลือหน้ายักษ์ พิมพ์ใหญ่ กรุลำพูน ที่พบ 1 ใน 50 องค์

พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองลำพูน บนฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงาย มีเส้นประภามณฑลรอบพระเศียรและองค์พระ ผนังด้านหลังองค์พระประดับตกแต่งด้วยใบโพธิ์พฤกษ์ เช่นเดียวกับ พระเปิม, พระคง, พระบาง และพระรอดหลวง ด้านหลังแบนเรียบ  มีลายมือกดพิมพ์ตกแต่งเนื้อดิน พระลือหน้ายักษ์เท่าที่พบมีประมาณ 50 องค์

1. องค์พระเป็นดินเผา สีผิวไผ่แดง สร้างด้วยดินกรองละเอียด ไม่มีกรวดทราย ผสมผงว่าน ขนาดกว้างฐาน 2.5 ซม. สูง 4.6 ซม.
2 ยุคสมัยการสร้าง พระลือหน้ายักษ์ เป็นพระร่วมสมัยทวาราวดี แยกเป็นศิลปะหริภุญชัย (จังหวัดลำพูน) สร้างในยุคแรกระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-16 มีอายุการสร้างถึงปัจจุบันราว 1,100 ถึง 1,300 ปี
3 ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณ มีกษัตริย์ปกครองอาณาจักรหริภุญชัย ในพุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นผู้สร้างบรรจุไว้

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม

พระสามหอม สกุลหริภุญชัย(ลำพูน) กรุดอยคำ เชียงใหม่

 

พระสามหอม สกุลหริภุญชัย(ลำพูน) กรุดอยคำ เชียงใหม่
เมื่อปี พ.ศ. 2509 เคยพบที่กรุเวียงกุมกาม

พุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่ง ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร เข่านอก ประทับบนบัลลังค์บังคว่ำบัวหงาย อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วลายกนก ข้างๆมีอัครสาวกสององค์ ด้านข้างซุ้มและยอดซุ้ม มีพระเจดีย์ องค์พระนูนเด่นชัดเจนสวยงาม มีกลิ่นหอม สัณฐานขอบนอกเป็นรูปไข่ ขนาดกว้าง 5ซม. สูง 7.5 ซม. ด้านหลังองค์พระนูนมาก เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นไข่เป็ดขนาดใหญ่ผ่าซีก พื้นผิวกดพิมพ์ด้วยนิ้วมือ เป็นรอยบดบี้อยู่ทั่วไป

1. องค์พระเป็นดินเผาสีแดง สร้างด้วยดินกรองละเอียดผสมว่าน ผิวตึง ความเสื่อมผิวน้อย เพราะกรุอยู่บนดอย ไม่แช่น้ำเหมือนพระเมืองลำพูน ราดำมีให้เห็นประปรายพอสมควร
2. ยุคสมัยการสร้าง พระสามหอม เป็นพระที่มีศิลปะสูงแบบหนึ่ง วงการอ่านว่าเป็นศิลปะทวาราวดี หรือ คุปตะเป็นศิลปะเก่ากว่าลพบุรี แต่ได้ประยุกต์ฝีมือหลายช่างรวมกัน จนกลายเป็นพระที่มีศิลปะสูงแบบหนึ่ง จนกระทั่ง ศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ เรียกศิลปะสมัยลำพูนว่า “ละโว้หริภุญชัย” โดยเป็นฝีมือประยุกต์ และใช้แบบพระเก่ามาเป็นแม่แบบ แต่ช่างมีความชำนาญในศิลปะลพบุรี จึงแทรกศิลปะลพบุรีลงในที่ใดที่หนึ่ง เช่นเดียวกับสมัยหริภุญชัย ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 14-17 พระสามหอมมีอายุการสร้างไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 17 (ราว1,000 ปี)
3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณใช้อักษรมอญโบราณและภาษามอญอยู่ในจังหวัดลำพูน(หริภุญชัย) เป็นผู้สร้างบรรจุกรุไว้ ที่กรุดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนาและราชวงศ์กษัตริย์แห่งหริภุญชัยนครสิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 17

พุทธคุณ พระสามหอมมี นิรันตราย แบบเดียวกับพระรอด เป็นพระรักษาชีวิตดีเลิศองค์หนึ่งทีเดียว