วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระขุนแผนพลายคู่ พิมพ์หน้ากลม กรุบ้านกร่าง สุพรรณบุรี



พระขุนแผนพลายคู่ พิมพ์หน้ากลม กรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจัน สุพรรณบุรี
พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบลอยองค์ ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาวางประคองเข่าขวา ทรงจีวรห่มคลุมเปิดใหล่ขวา
ด้านหลังแบนเรียบ ไม่ปรากฏลายนิ้วมือ การตัดขอบจากหน้าไปหลังสอบลงเล็กน้อย
1. วัสดุทัพสัมภาระการสร้างพระ สร้างด้วยดินป่นละเอียดผสมว่าน เผาแล้วได้เนื้อดินสีใบลานเนื้อละเอียด มีกรวดแร่เล็กน้อยบางตา ด้านหน้าและหลัง มีคราบกรุสีดำคล้ายเขม่าควันไฟสีดำเคลือบผิวอยู่ตามซอกและผนังพื้น ขนาดกว้างฐาน 6 ซม. สูง 4 ซม. หนา 7 มม.
2. ยุคสมัยการสร้าง สร้างในสมัยอยุธยา ภายหลังการสร้างพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.อยุธยา เล็กน้อยอายุถึงขณะนี้ประมาณ 400 ปี
3. ผู้สร้าง เป็นช่างหลวงชุดเดียวกับที่สร้างพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคลฯ โดยที่พระขุนแผนดินเผาพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ กรุวัดบ้านกร่าง กับพระขุนแผนเคลือบ พิมพ์ใหญ่กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพิมพ์เดียวกัน ทั้งรูปร่าง หน้าตาและขนาด
พุทธคุณ ขลังมากด้านเสน่ห์และแคล้วคลาดคงกระพัน



พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ






พระขุนแผนพลายคู่ พิมพ์หน้ายักษ์ กรุบ้านกร่าง สุพรรณบุรี



พระขุนแผนพลายคู่ พิมพ์หน้ายักษ์ กรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจัน  สุพรรณบุรี
พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบลอยองค์ ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาวางประคองเข่าขวา ทรงจีวรห่มคลุมเปิดใหล่ขวา
ด้านหลังแบนเรียบ ไม่ปรากฏลายนิ้วมือ การตัดขอบจากหน้าไปหลังสอบลงเล็กน้อย
1. วัสดุทัพสัมภาระการสร้างพระ สร้างด้วยดินป่นละเอียดผสมว่าน เผาแล้วได้เนื้อดินสีแดงเนื้อละเอียด มีกรวดแร่เล็กน้อยบางตา ด้านหน้ามีคราบดินกรุสีดินโคลนเคลือบผิวอยู่ ขนาดกว้างฐาน 5 ซม. สูง 3 ซม. หนา 6 มม.
2. ยุคสมัยการสร้าง สร้างในสมัยอยุธยา ภายหลังการสร้างพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.อยุธยาเล็กน้อย อายุถึงขณะนี้ประมาณ 400 ปี
3. ผู้สร้าง เป็นช่างหลวงชุดเดียวกับที่สร้างพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคลฯ โดยที่พระขุนแผนดินเผา กรุวัดบ้านกร่าง กับพระขุนแผนเคลือบ พิมพ์ใหญ่กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพิมพ์เดียวกัน ทั้งรูปร่าง หน้าตาและขนาด
พุทธคุณ ขลังมากด้านเสน่ห์และแคล้วคลาดคงกระพัน



พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ






พระขุนแผนพลายคู่ พิมพ์หน้ามงคล กรุบ้านกร่าง สุพรรณบุรี



พระขุนแผนพลายคู่ พิมพ์หน้ามงคล กรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจัน  สุพรรณบุรี
พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบลอยองค์ ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาวางประคองเข่าขวา ทรงจีวรห่มคลุมเปิดใหล่ขวา
ด้านหลังแบนเรียบ ไม่ปรากฏลายนิ้วมือ การตัดขอบจากหน้าไปหลังสอบลงเล็กน้อย
1. วัสดุทัพสัมภาระการสร้างพระ สร้างด้วยดินป่นละเอียดผสมว่าน เผาแล้วได้เนื้อดินสีแดงชนิดเนื้อละเอียดสีแดง มีกรวดแร่เล็กน้อยบางตา ด้านหน้ามีคราบดินกรุสีดินโคลนเคลือบผิวอยู่รวมทั้งด้านหลังด้วย ขนาดกว้างฐาน 4.5 ซม. สูง 3.5 ซม. หนา 6 มม.
2. ยุคสมัยการสร้าง สร้างในสมัยอยุธยา ภายหลังการสร้างพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.อยุธยาเล็กน้อย อายุถึงขณะนี้ประมาณ 400 ปี
3. ผู้สร้าง เป็นช่างหลวงชุดเดียวกับที่สร้างพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคลฯ โดยที่พระขุนแผนดินเผา กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ กับพระขุนแผนเคลือบ พิมพ์ใหญ่กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพิมพ์เดียวกัน ทั้งรูปร่าง หน้าตาและขนาด
พุทธคุณ ขลังมากด้านเสน่ห์และแคล้วคลาดคงกระพัน

พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ






วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระเลี่ยงหลวง กรุเก่า พิมพ์ใหญ่พิเศษ แบบซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม (ดินเผา)

 

พระเลี่ยงหลวง กรุเก่า พิมพ์ใหญ่พิเศษ แบบซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม (ดินเผา)

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มรูปปราสาทเหมือนนครวัด

ลักษณะองค์พระ ทรงเครื่อง พระเศียรสวมพระมาลาเทริดนก พระกุณฑลระย้ายาวจดไหล่ สวมสร้อยสังวาล ทรงจีวรห่มคลุมเปิดไหล่พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนตัก พระหัตถ์ขวาวางกุมหัวเข่า ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายบนเศียรช้าง 3 เชือก ด้านซ้ายองค์พระเป็นพระโมคคัลลาน์ ด้านขวาเป็นพระสารีบุตร นั่งชันเข่า มือถือดอกบัวตูมบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ทั้งหมดตั้งอยู่บนบัวลูกแก้ว 3 ชั้นย่อมุมภายในกรอบสามเหลี่ยมรูปใบหอกประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆตามขอบเส้น

ด้านหลัง อูมนูนเรียบ มีลายมือกดแต่งเนื้อดินโค้งลงกรอบด้านหน้า

1. องค์พระเครื่อง เป็นดินเผาเนื้อสีแดงอมชมพู สร้างด้วยดินบดกรองละเอียด ผสมผงคราบดินกรุ เป็นฝุ่นละเอียดสีเทา มีรารักดำขึ้นเป็นหย่อมๆ ติดแน่นเคลือบตามผิว ขนาดกว้างฐาน 6 ซม. สูง 9.5 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง เป็นพระเครื่องศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ 17 อายุราว 1,000 ปี ร่วมสมัยทวาราวดี พุทธศาสนาคติมหายาน พบที่กรุวัดประตูลี้ จังหวัดลำพูน เป็นครั้งแรก

3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณ อาศัยอยู่เมืองหริภุญชัย เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 17

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดดีพอๆกับพระรอด 

พระเลี่ยงหลวง กรุเก่า แบบซุ้มประตู ซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม(ดินเผา)

 

พระเลี่ยงหลวง กรุเก่า แบบซุ้มประตู ซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม(ดินเผา)

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายในซุ้มโค้ง รอบพระเศียรสามเส้น ประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆ รอบซุ้มโค้ง ส่วนยอดแหลมประดับด้วยบัวตูมบัวบาน

ลักษณะองค์พระ พระเศียรไม่ปรากฏเม็ดพระศก พระเมาลีเป็นมวยเล็กๆ ทรงจีวรห่มคลุมทั้งองค์ ประทับนั่งบนฐานบัวลูกแก้ว ใต้ฐานเป็นเสารองรับ 4 ต้น ด้านซ้ายองค์พระเป็นพระโมคคัลลาน์ ด้านขวาเป็นพระสารีบุตร นั่งชันเข่าบนผ้าปูรองนั่ง บนฐานบัวลูกแก้วเช่นเดียวกับองค์พระทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสามเหลี่ยมรูปใบหอก ประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆตามขอบเส้น

ด้านหลัง เรียบอูมนูน มีลายมือกดแต่งเนื้อดินโค้งลงกรอบด้นหน้า

1. องค์พระเครื่อง เป็นดินเผาเนื้อสีใบลาน สร้างด้วยดินบดกรองละเอียด ผสมว่าน คราบดินกรุเป็นฝุ่นละเอียดสีเทาดำบางๆ เคลือบแน่นบนผิวล้างไม่ออก ขนาดกว้างฐาน 4 ซม. สูง 6 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง เป็นพระเครื่องศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ 17 อายุราว 1,000 ปี ร่วมสมัยทวาราวดี พุทธศาสนาคติมหายาน พบที่กรุวัดประตูลี้ จังหวัดลำพูน เป็นครั้งแรก

3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณ อาศัยอยู่เมืองหริภุญชัย เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 17

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดดีพอๆกับพระรอด 

พระเลี่ยง พิมพ์ใหญ่พิเศษ แบบซุ้มเรือนแก้ว ยอดแหลม(ดินเผา)

 

พระเลี่ยง พิมพ์ใหญ่พิเศษ แบบซุ้มเรือนแก้ว ยอดแหลม(ดินเผา)ขุดพบภายหลัง มีน้อยมาก

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายในซุ้มยอดแหลม  เช่นเดียวกับพระเลี่ยงพิมพ์นิยม

ลักษณะองค์พระ ทรงเครื่อง พระเศียรสวมพระมาลาเทริดนก พระกุณฑลระย้ายาวจดไหล่ สวมสร้อยสังวาล ทรงจีวรห่มคลุมเปิดไหล่พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนตัก พระหัตถ์ขวาวางกุมหัวเข่า ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายบนฐานเศียรช้าง 3 เชือก ด้านซ้ายองค์พระเป็นพระโมคคัลลาน์ ด้านขวาเป็นพระสารีบุตร นั่งชันเข่าบนฐานเขียง ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบสองชั้นรูปสามเหลี่ยมใบหอก ประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆตามขอบเส้น

ด้านหลัง บุบเบี้ยวตามการกดพิมพ์ด้วยนิ้วมือ และปรากฏลายมือโดยทั่วไป ขอบองค์พระบางเหมือนคมมีด

1. องค์พระเครื่อง เป็นดินเผาเนื้อสีใบลาน สร้างด้วยดินบดกรองละเอียดผสมว่าน คราบกรุเป็นฝุ่นหินปูนสีขาวเคลือบอยู่ทั้งองค์  ส่วนด้านหลังจะมีราดำเคลือบอยู่ภายใต้คราบหินปูน  ขนาดกว้างฐาน 3 ซม. สูง 5 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง เป็นพระเครื่องศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ 17 อายุราว 1,000 ปี ร่วมสมัยทวาราวดี พุทธศาสนาคติมหายาน พบที่กรุวัดประตูลี้ จังหวัดลำพูนเป็นครั้งแรก โดยขุดพบภายหลัง จึงมีจำนวนน้อยมาก

3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณ อาศัยอยู่เมืองหริภุญชัย เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 17

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดดีพอๆกับพระรอด 

พระเลี่ยง พิมพ์นิยม กรุวัดประตูลี้ ลำพูน แบบซุ้มเรือนแก้ว ยอดแหลม(ดินเผา)

 

พระเลี่ยง พิมพ์นิยม กรุวัดประตูลี้ ลำพูน แบบซุ้มเรือนแก้ว ยอดแหลม(ดินเผา)

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายในซุ้มยอดแหลม

ลักษณะองค์พระ ทรงเครื่อง พระเศียรสวมพระมาลาเทริดนก พระกุณฑลระย้ายาวจดไหล่ สวมสร้อยสังวาล ทรงจีวรห่มคลุมเปิดไพระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนตัก พระหัตถ์ขวาวางกุมหัวเข่า ประทับนั่งบนฐานบัวลูกแก้ว บนเศียรช้างสาม เชือก ด้านซ้ายองค์พระเป็นพระโมคคัลลาน์ ด้านขวาเป็นพระสารีบุตร นั่งชันเข่าบนฐานเขียง ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบรูปใบหอก ประดับด้วยกลีบบัวเล็กๆตามขอบเส้น

ด้านหลัง เรียบมีลายมือกดแต่งเนื้อดินโค้งลงกรอบด้านหน้า กรอบบางคมเหมือนใบมีด ใต้ฐานล่างสุดกดพับเนื้อเกินไปด้านหน้า เช่นเดียวกับพระรอดพิมพ์ใหญ่

1. องค์พระเครื่อง เป็นดินเผาเนื้อสีใบลาน สร้างด้วยดินบดกรองละเอียดผสมว่านและกรวด คราบดินกรุสีเทาอยู่ตามซอกลึกด้านหน้า ขนาดกว้างฐาน 2 ซม. สูง 4 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง เป็นพระเครื่องศิลปะหริภุญชัย พุทธศตวรรษที่ 17 อายุราว 1,000 ปี ร่วมสมัยทวาราวดี พุทธศาสนาคติมหายาน พบที่กรุวัดประตูลี้ จังหวัดลำพูนเป็นครั้งแรก 

3. ผู้สร้าง กลุ่มชนมอญโบราณ อาศัยอยู่เมืองหริภุญชัย เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ ก่อนที่จะล่มสลาย ถูกยึดครองโดยอาณาจักรล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 17

พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดดีพอๆกับพระรอด