วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี นครปฐม

 

พระพิมพ์อื่นๆของ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว



เม็ดยาจินดามณี หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี นครปฐม


พระพิมพ์อื่นๆของ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว


พระหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว พิมพ์กลีบบัวเนื้อผงยาจินดามณี หลังจารยันต์เฑาะว์มหาพรหม วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี พิมพ์จิ๋ว

 

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี พิมพ์จิ๋ว ปัจจุบันนี้เท่าที่ปรากฏมีน้อยมาก 

พระพิมพ์จิ๋ว มีขนาด กว้าง 0.7 ซม.สูง1.1ซม.

พระพุทธคุณ ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกันกับพิมพ์ใหญ่ทุกประการ

พระพิมพ์อื่นๆของ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์


พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555


วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระถ้ำเสือ จังหวัดสุพรรณบุรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระถ้ำเสือ จังหวัดสุพรรณบุรี
พุทธลักษณะพระถ้ำเสือ พุทธลักษณะเป็นศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-17
พระเกศเป็นปม, เม็ดพระศกกลุ่มใหญ่, พระนลาฏแคบ
พระโขนง (คิ้วลากติดกันเป็นปีกกา, พระเนตรเนื้อ)
หลังพระเนตรนูน พระนาสิกป้าน ริมพระโอษฐ์หนา
จีวรมีทั้งคลุมและเปิดไหล่ สังฆาฏิพาดผ่านหน้าอกยาวถึงสะดือ
ลำพระองค์ผอมบาง, ผนังด้านหลังแบนราบ
พระถ้ำเสือเป็นพระดินเผา มีหลายขนาด ปางมารวิชัย ลอยองค์ ไม่มีอาสนะรองรับ พระบาทขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวา วางพาดที่พระเพลา เห็นนิ้วพระหัตถ์ยาว 4 นิ้ว ชัดเจน ไม่เห็นหัวแม่มือ พระหัตถ์ซ้าย วางหงายที่หน้าตัก
ด้านหลัง อูมนูนโค้งมนเรียบแบบเปลือกไข่ ปรากฏลายมือกดแต่งลางๆ ไม่มีการตัดขอบข้าง จึงมีปีกรอบองค์พระตามธรรมชาติ

1. วัสดุและทัพสัมภาระการสร้างพระ พระถ้ำเสือเป็นพระดินเผา เนื้อหยาบ เนื้อละเอียดมีน้อย ประกอบด้วย เนื้อดินละเอียด มีเม็ดแร่-กรวดมาก ผสมผง เนื้อดินฟ่ามกว่าพระดินดิบ มีลักษณะกร่อน ผุเป็นรูพรุน ภายในมีความแกร่งพอควร ผิวพระเหี่ยวย่น มีฝ้าขาวแทรกอยู่ในร่องผิว ประปรายทั้งด้านหน้า-หลัง มีดินฝุ่น เป็นผงละเอียดปกคลุมอยู่ ผิวภายนอกจึงมีสีเข้ม ขณะที่สีเนื้อในเป็นสีแดงอิฐ
ขนาดองค์พระ มีหลายขนาด ใหญ่กลางเล็ก

2. ยุคสมัยการสร้าง สันนิษฐานว่า เป็นศิลปะทวารวดียุคปลายระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ 15-17 อายุถึงปัจจุบันราว 900 ถึง 1,100 ปีมีอายุมากกว่า พระคง พระเปิม ของลำพูน

3. การค้นพบกรุพระ พระถ้ำเสือเป็นพระเครื่องสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-17 มีอายุมากกว่าพระเครื่องทุกกรุ มีเอกลักษณ์ ของตนเองโดยเฉพาะมี 2 ปาง ส่วนมากเป็นปางมารวิชัย พบในถ้ำ ของภูเขาเป็นส่วนใหญ่ เมื่อพ.ศ. 2487 เด็กหนุ่มชาวบ้าน เนินพลับพลา อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี มีอาชีพ หาของป่าไปหามูลค้างคาว ในถ้ำของ “เขาคอก” บังเอิญพบเสือในถ้ำทั้งคนทั้งเสือ วิ่งกันไปคนละทาง เมื่อเสือไปแล้ว ต่อมาเด็กหนุ่มก็เข้าไปหามูลค้างคาวในถ้ำอีก พบพระดินเผา ปนอยู่กับมูลค้างคาวองค์เล็กๆ 6-7 องค์ ก็เก็บมาบ้าน ไว้บนหิ้งพระ และไม่ได้สนใจ ในที่สุด พระเครื่องก็อันตรธาน หายไป
พ.ศ. 2493 เด็กหนุ่มคนเดิมไปหามูลค้างคาวในถ้ำนี้อีก พบพระดินเผาเหมือนครั้งแรก ร้อยกว่าองค์ ก็เก็บเอาไว้ในบ้าน ต่อมามีถนนตัดผ่านจังหวัดนครปฐม มาอำเภออู่ทอง เลยเข้าจังหวัดสุพรรณบุรีในปี 2500 จนแล้วเสร็จปี 2509 เด็กหนุ่มก็เอาพระออกไปขายที่ตลาดอู่ทอง ในปี 2505 คนชื้อถามว่า ไปเอามาจากไหน ก็ตอบว่า ได้มาจากถ้ำที่มีเสืออยู่ ต่อมาจึงเรียกกันว่า “พระถ้ำเสือ” พระพิมพ์ ทรงดังกล่าว นี้มีการพบอีกหลายกรุ หลายถ้ำ ติดต่อกันมานับ 10 ถ้ำ เป็นเวลากว่า 20 ปี และเรียกกันว่า “พระถ้ำเสือ” เหมือนกันหมด ไม่แยกเป็นกรุเก่า กรุใหม่ เพราะมีอายุเท่ากัน
พระถ้ำเสือแตกกรุ เท่าที่รู้มีดังนี้ (ที่ไม่รู้ยังมีอีกมาก)
1. เขาดีสลัก พบประปราย หน้าถ้ำละมุด ปี 2500
2. วัดหลวง พบที่พื้นดินราบ สิงหาคม-กันยายน 2512
3.วัดหลวง พบครั้งที่ 2, กันยายน 2512
4 วัดเขาดีสลัก พบประปราย จากเจดีย์ยอดเขาพังทลาย สิงหาคม 2516
5 เขาดีสลัก พบประปรายพิมพ์จิ๋ว 2517
6 เขาวง พบ มิถุนายน-กรกฎาคม 2518
7 เขาดีสลัก พบจำนวนมากในถ้ำละมุด สิงหาคม 2535
8 วัดเขาทับทิม 2543
   ฯลฯ
พระถ้ำเสือ เป็นพระที่มีพิมพ์ทรงมากที่สุดของพระเครื่อง แต่ละองค์มีพระพักตร์ต่างๆกัน เคร่งเครียด ดุดัน ปวดร้าว ผิดหวัง สงสัย อิ่มเอิบ ยิ้มแย้มแจ่มใส ฯลฯ

4 ผู้สร้าง พระฤาษีผู้บำเพ็ญภาวนาสมาธิ ได้ฌานสมาธิอภิญญาทรงฤทธิ์ เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ในถ้ำต่างๆ ในละแวกอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพัน

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระขุนแผน พลายคู่ (ตัดเดี่ยว) กรุวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี

 
พระขุนแผน พลายคู่ พิมพ์เศียรโต (ตัดเดี่ยว)


 
พระขุนแผน พลายคู่ พิมพ์หน้ามงคล (ตัดเดี่ยว)


 
พระขุนแผน พลายคู่ พิมพ์หน้ายักษ์ (ตัดเดี่ยว)

พระขุนแผนพลายคู่ กรุวัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งซุ้มเรือนแก้วประดับด้วยกลีบบัวเอกลักษณ์เด่น แยกเป็นแต่ละพิมพ์

1 วัสดุและทัพสัมภาระการสร้างพระ
พระขุนแผนวัดบ้านกร่าง เป็นเนื้อดินเผาทั้งหมดมีทั้งชนิดละเอียดและชนิดหยาบ สร้างด้วยดินป่นละเอียดเต็มไปด้วยฝุ่นผงและ แร่ดอกมะขามเป็นหลัก เมื่อเผาแล้วจะได้เนื้อดินสีแดง การกรองดินมีทั้งละเอียดและหยาบ จึงมีกรวดแร่อยู่มากทั้งยังมีส่วนผสมของว่านและแกลบ เมื่อเผาแล้วกรวดแร่จะลอยอยู่บนผิวหนาตามาก อายุถึงขณะนี้ประมาณ 400 ปี ผิวภายนอกจึงนุ่มเนียนและผุกร่อนรวมทั้งมีดินกรุสีเทาดำเคลือบบนผิวบางๆเป็นหย่อมๆ

2 ยุคสมัยการสร้าง พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา และเป็นศิลปะอยุธยาทั้งหมด มีศิลปะแบบเดียวกับพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยา ที่สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯประมาณพ.ศ. 2137 แต่ขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง สร้างภายหลังเล็กน้อยอายุถึงขณะนี้ประมาณ 400 ปี
การแตกกรุพระขุนแผนดินเผา ถือกำเนิดที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีเจดีย์ภายในวัดล้มลงเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2445 มีผู้พบพระอยู่กลาดเกลื่อน เต็มไปด้วยพระขุนแผนพิมพ์ต่างๆจำนวนมากเป็น หมื่นๆองค์

3 ผู้สร้างพระขุนแผนดินเผาพิมพ์ห้าเหลี่ยม กรุวัดบ้านกร่าง มีศิลปะคล้ายคลึงแบบเดียวกับพระขุนแผนเคลือบ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยา ทั้งขนาดและรูปร่างแทบจะถอดแบบมาจากพิมพ์เดียวกัน เมื่อช่างศิลปะต้องการจะสร้างพระบรรจุกรุวัดบ้านกร่าง และมีแม่พิมพ์ขุนแผนห้าเหลี่ยม แต่ต้องการพระจำนวนมาก มีอยู่พิมพ์เดียวคงไม่พอการใช้งานจึงแกะแม่พิมพ์เพิ่มเติมอีกหลายรูปแบบทั้งแบบเดี่ยวและแบบคู่นับได้มากกว่า 30 พิมพ์ขึ้นไป เมื่อสร้างพระดินเผาเสร็จตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ก็นำไปบรรจุไว้ในกรุเจดีย์วัดบ้านกร่าง เพื่อสืบสานต่อพระพุทธศาสนาสืบต่อกันไป

สันนิษฐานว่า ช่างศิลปะผู้สร้าง คงเป็นช่างหลวงชุดเดียวกับที่สร้างพระขุนแผนเคลือบวัดใหญ่จังหวัดอยุธยานั่นเอง

พุทธคุณ ขลังมากด้าน"เสน่ห์" ซึ่งอันที่จริงแล้วกลับยิ่งยง ด้านแคล้วคลาด คงกระพันมากกว่า

พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ






วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

 


พระผงสุพรรณพิมพ์ใหญ่ “หน้าแก่” กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

 

พระผงสุพรรณพิมพ์ใหญ่ “หน้าแก่” กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

พุทธลักษณะ  พระผงสุพรรณ เป็นพระที่มีศิลปะอู่ทอง ปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) องค์พระประทับนั่งลอยองค์ ขัดสมาธิราบ พระวรกายสูงชะลูด พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ(หัวเข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางหงายที่พระเพลาบนฐานเขียงชั้นเดียว ไม่ตกแต่งเครื่องประดับองค์พระ และผนังด้านหลังภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมทรงสูง ตัดยอดป้าน แหลม เฉียง 5 เหลี่ยม ไม่เป็นที่ยุติ เหนือพระเมาลี พระพุทธปฏิมากรขนาดเดียวกันหมด ส่วนหนาไม่ยุติ บางองค์หนาตั้งได้ บางองค์บางมากเหลือเพียง 3-4 ม.ม. ก็มี

พิมพ์ใหญ่ “หน้าแก่” พระพักตร์เคร่งขรึม พระกำโบล(แก้ม) เหี่ยวตอบ พระหนุ(คาง)เสียมและมักจะเลือนหาย พระเกศเป็นต่อมกลมสองชั้น ชั้นล่างใหญ่ ชั้นบนเล็กยอดมน กรอบไรพระศกที่ชัดเจน นูนขึ้นสวยงามมาก ส่วนมากมักจะเลือน พระขนง(คิ้ว)เป็นปื้น หางพระเนตรชี้ขึ้นสูง พระเนตรข้างขวามักจะโบ๋ พระเนตรซ้ายมีเม็ดพระเนตร พระนาสิกป้าน ปลายพระนาสิกท่ากับพระโอษฐ์ มีรอยบากข้างพระนาสิกขวาเป็นขีดลึก พระโอษฐ์จู๋มี มีขนาดเท่ากับปลายพระนาสิกพระหนุ(คาง)เสี้ยมเล็ก บางองค์กลืนหายไปกับพระศอ พระกรรณข้างขวายาว ข้างซ้ายสั้น ไม่มีพระศอ
พระอุระ (หน้าอก) คล้ายหัวช้าง พระอุระ (ท้อง)ติดบางมาก พระพาหา (ท่อนแขนบน) พระกร(ท่อนแขนล่าง) มีขนาดพอสมควร เปรียบกับพิมพ์หน้ากลางแล้วมีนาดใหญ่กว่า ห่างกับลำพระองค์พอประมาณ พระกัปประ (ข้อศอก) ทั้งสองข้างมีระดับเสมอกัน ปลายพระหัตถ์ข้างซ้ายซึ่งวางหงายอยู่หน้าพระเพลาสั้น มักจะเห็นหัวพระอังคุฎ(หัวแม่มือ)รางๆ

พระเพลา(หน้าตัก)กว้างพอสมส่วน พระบาทขวาหงายทาบเฉียงขึ้นบนเล็กน้อย แต่ก็ไม่เป็นการแน่นอนเสมอไป บางองค์ทาบตรงก็มี ไม่เห็นพระปราษณี (ส้นเท้า) และข้อพระบาท บางองค์เห็นนิ้วหัวพระบาท(หัวแม่เท้า) พระบาทซ้ายเช่นเดียวกัน

ด้านหลัง พระผงสุพรรณทุกองค์จักต้องมีลายมือของพระมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตร กดประทับอยู่ด้านหลัง ลักษณะเส้นลายมือคือแบบก้นหอย มีคลื่นหยักน้อยๆ ขยุกขยิก เกิดจากการหดตัวของมวลสาร ลายนิ้วมือเป็นเส้นใหญ่หยาบ ตามรูปร่างที่ใหญ่โต เนินเรียบปรากฏอยู่กึ่งกลางของเส้นลายมือ มีลักษณะนูน ไม่บ๋อมลงไปในเนื้อพระ ส่วนมากมีลักษณะนูนไม่มีวงก้นหอยกึ่งกลางลายมือนั้น

1.ลักษณะเนื้อพระผงสุพรรณ ไม่ได้ผ่านด้วยการเผาไฟ เนื้อพระจึงปราศจากความแข็งแกร่งเป็นสำคัญ มีความหนึกนุ่มเป็นเจ้าเรือน มีความละเอียดเนียนปราศจากเม็ดทรายใดๆทั้งสิ้น ผู้สร้างมีความพิถีพิถันในการป่นว่านบดผงเกษรและดินเหนียวจนละเอียด คาดว่าจักต้องใช้ผ้าบางหรือ แลงร่อนเอาผงดินบริสุทธิ์มาเป็นทัพสัมภาระ เนื้อพระผงสุพรรณจึงมีความละเอียดเนียน คล้ายพระตระกูลทางเหนือ เช่น พระรอด พระทุ่งเศรษฐี พระซุ้มกอ เป็นต้น
ความหนึกนุ่ม อณูของว่าน ผงเกสรดอกไม้ผสมกับดินเหนียวตากแห้งป่นละเอียด เมื่อนำมาผสมกับน้ำหวานจนจับกันเป็นผลึก บรรจุไว้ในที่ร้อนอบอ้าวภายในกรุย่อมไล่ความชื้นที่เกาะปฏิภาคของอณูให้เหือดแห้งหายไปยิ่งเวลาผ่านาน 500-600 ปี อณูภาคต่างๆจะมีความหดตัวพร้อมกับความแห้งผาก ผิดกับความแห้งด้วยการเผาไฟ
ความแห้ง-เก่า เนื้อพระผงสุพรรณ มีความแห้งผาก แห้งสนิทปราศจากความชื้นอยู่ภายเนื้อพระเลยแม้แต่น้อย ทั้งอมความเก่าไว้ด้วย อันเป็นคุณสมบัติที่แท้จริงของเนื้อพระผงสุพรรณ

สีของพระผงสุพรรณ ตามลานทองบอกว่า มีสองสี คือ สีแดงและสีดำ (เทาหม่นปนดำ) แต่ผู้ที่ได้พระผงสุพรรณมาแต่กาลก่อน ต่างยืนยันว่า ได้มาจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งสิ้น และมีสีอื่นอีก  ได้แก่ สีเขียวมอย และสีขาว หรือบางทีเรียกว่าสีใบลาน สีเนื้อก็เรียก ความนิยมแตกต่างกัน สีเขียวมอยนิยมมากอันดับหนึ่ง สีใบลานรองลงมา สีแดง และสีดำนิยมน้อยที่สุด

พระผงสุพรรณไม่ผ่านการเผา หากเผาจนสุกแล้ว ว่านและผงต่างๆจะถูกเผาจนสุก ทุกๆสีจะกลายเป็นสีแดงไปหมด
ขนาดหน้าตัก กว้าง 1.5 ซม. สูงจากใต้ขาซ้าย ถึงยอดพระเมาลี 2.5 ซม.

2. ยุคสมัยการสร้าง พระผงสุพรรณเป็นศิลปะอู่ทอง 1 ลานทองแผนที่ 1 บอกศักราชเป็นมหาศักราช 1265 และลานทองแผ่นที่ 2 บอกศักราช 1269 ให้เอา 621 บวกได้เป็น พ.ศ.1886 และ 1890 ชัดแจ้งอยู่แล้วว่า เป็นปีก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา เพราะปีก่อสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีพ.ศ. 1893 ห่างกัน 7- 3 ปี
ดังนั้นพระผงสุพรรณ ควรสร้างในยุคอู่ทองตอนปลาย หรืออู่ทอง 3 มากกว่าจะเป็นในอู่ทอง 1 ตามศิลปะที่ปรากฏในองค์พระ อายุการสร้างถึงปัจจุบันราว 600 กว่าปี

3.ผู้สร้างพระผงสุพรรณ ลานทองแผ่นที่ 1 ได้ที่วัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี จารึกในแผ่นทองเป็นอักษรขอม แปลได้ความว่า ดังนี้
ศุภมัสดุ  1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกให้รู้ว่า มีฤาษี 4 ตน พระฤาษีพิลาไลย์เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐาน มีสุวรรณเป็นต้น คือบรมกษัตริย์ พระยาศรีธรรมาโศกราช เป็นผู้มีศรัทธา พระฤาษีทั้ง 4 ตน ซึ่งพร้อมเอาว่านทั้งหลาย พระฤาษีจึงอัญเชิญเทพดามาช่วยทำพิธี ทำเป็นพิมพ์ไว้ สถาน 1 แดง สถาน 1 ดำ ให้เอาว่านทำผง ปั้นก้อนพิมพ์ด้วยลายมือ ของพระมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตร์ คือเป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น  ได้เอาแร่ต่างๆซัดสำเร็จแล้ว ให้นามว่าแร่สังฆวานร ได้หล่อขึ้นเป็นพิมพ์ต่างๆ มีอานุภาพต่างกัน  เสกด้วยมนต์คาถาทั้งปวงครบ 3 เดือนแล้ว ท่านเอาไปประดิษฐานไว้ในพระสถูปใหญ่แห่งหนึ่ง ทีเมืองพันธูม ถ้าผู้ใดได้พบเห็น ให้รีบเอาไปสักการบูชาเป็นของวิเศษ แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ อาจคุ้มครองพยันตรายได้ทั้งปวง ถ้าผู้ใดออกรณรงค์สงคราม ประสิทธิด้วย ศัตราวุธทั้งปวง เอาพระลงสรงน้ำหอม แล้วนั่งบริกรรมพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ 108 จบ, พาหุง 13 จบ ใส่ขันสำริดนั่งอธิษฐานตามความปรารถนาเถิด ให้ทาทั้งหน้าและผมคอ หน้าอกถ้าจะใช้ในทางเมตตา ให้มีสง่า เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟัง ยำเกรง ให้เอาพระไว้ในน้ำมันหอม เสกด้วยคาถา เนาว์หรคุณ 13 จบ พาหุง 13 จบ พระพุทธคุณ 13 จบ ให้เอาดอกไม้ ธูปเทียน ทำพิธีในวันเสาร์ น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้เสมอไป ทาริมฝีปาก หน้าผาก และผม ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้ พระว่านก็ดี พระเกสรก็ดีกระทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี อย่าประมาทเลย อานุภาพของพระทั้ง 3 อย่างนี้ ดุจกำแพงแก้ว นตรายทั้งปวงไม่กล้ำกราย แล้วให้ว่าคาถา ทะเยสันตาจนจบพระพุทธคุณ,พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ แล พาหุงจนจบ และให้ว่าดังนี้อีก “คะเตสิกเก กะระณังมะกา ไชยยังมังคะรัง นะมะพะทะ กิริมิถิ กุรุมุทุ เกเลเมเถ กะระมะทะ ประสิทธิแล”  คาถานี้ให้ว่าทุกวันทุกคืนได้ประเสริฐ เพียงจบเดียวก็ดี ถ้าว่าได้ 13 จบ ตามตำรา จะปรเสริฐใหญ่ยิ่ง ให้ระลึกถึงท่านมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตร์ กับฤาษีพิลาไลย์ ช่วยกันป้องพยันตรายได้ทั้งปวงฯ จบ

พุทธคุณ เมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เยี่ยมยอดด้านนิรันตรายเป็นเอก


หมายเหตุ
1. ศุภมัสดุ1265 คำนี้บอกศักราชในมหาศักราช เทียบกับพุทธศักราชแล้วตรงกับ พ.ศ. 1886
ลานทองแผ่นที่ 2 บอกศักราช 1269เทียบกับพุทธศักราชแล้วตรงกับ พ.ศ. 1890 อันเป็นปีสุดท้ายของพระเจ้าเลอไทย แห่งกรุงสุโขทัย และก็เป็นปีของพระเจ้าลือทัย(ลิทัย) ขึ้นครองราชย์ ดังนั้นจึงพอเชื่อได้ว่า กษัตริย์ครองกรุงสุโขทัยทั้งสองพระองค์ ไม่องค์ใดก็องค์หนึ่งเป็นผู้สร้าง แล้วนำมาบรรจุไว้ในองค์พระปรางค์ วัดพระศรีมหารัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

2.เมืองพันธูม คือ เมืองสุพรรณบุรี




พระผงสุพรรณ พิมพ์อื่นๆ