วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์หน้าบรรณ


 

 

 


พระพิมพ์ทรงพิเศษของสมเด็จโต

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์หน้าบรรณ เป็นพระที่สร้างเมื่อปีพศ. 2394 ขณะนั้นสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีดำรงสมณศักดิ์เป็น พระธรรมกิตติโสภณ อยู่ในช่วงต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ท่านจึงได้สร้างพระเพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 4 สร้างขึ้นในคราวเดียวกันจำนวน 100 องค์ 

มวลสารหลักได้แก่ ปูนขาวเปลือกหอย ผงว่านต่างๆ ผงข้าวสุก ผงเกสร ผงกระยาสารท ผงตะไคร่ใบสีมา ผงอิธะเจ ผงปถมัง ผงกรุเก่า ผงชานหมาก ผงใบลาน ผงดินสอ ผงพอกช้างเผือก ผงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อินทรียวัตถุ อนินทรียวัตถุ ฯลฯ ผสมน้ำมันประสาน ซึ่งได้แก่ น้ำมันตังอิ้ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วยสุก กาวยางไม้ต่างๆ ปั้นขึ้นรูปกดพิมพ์จะได้พระที่มีเนื้อละเอียด คือ เนื้อแน่น แกร่ง ผิวมีความมันวาว และไม่ค่อยปรากฏมวลสารชัดเจนนัก เนื่องจากมวลสารต่างๆ ถูกตำถูกบดจนละเอียดมาก 

ขนาดองค์พระ พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์หน้าบรรณ มีขนาดองค์พระใหญ่มาก ดังนี้
ความสูง 15.6 ซม.
ความกว้าง ด้านบน  10.0 ซม.
ความกว้าง ด้านฐาน 10.9 ซม.
ความหนา  3.0 ซม. 
(ด้านหลัง ถึง ซุ้มและองค์พระ)
ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระ ด้านหลังจารเป็น รูปอุณาโลม

พุทธคุณ ได้มีการทำพิธีพุทธาภิเษกหมู่ เด่นทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย ใช้ทำน้ำมนต์บำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ ดีนักแล


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ






วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระกริ่ง ขันน้ำมนต์ และ เหรียญพระปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรฯ


  
พระกริ่งปวเรศฯด้านหน้า ด้านหลัง และ เหรียญบาตรน้ำมนต์พระปวเรศฯ

ขันน้ำมนต์จารึกชื่อ ฯ (ขันลงหิน)

ลงจารยันต์และอักขระรอบขันน้ำมนต์

ภายในขันน้ำมนต์ 

ภายในขันน้ำมนต์ ประกอบด้วย
1) มีเทียนเก่า ได้หลอมลงไปอยู่รวมกัน
2) มีต้นโพธิ์ทองกลางขัน 1 ต้น (พับงอลงไปเพื่อป้องกันใบโพธิ์หลุดหาย)
3) ภายในบรรจุเหรียญพระปวเรศฯ (เหรียญบาตรน้ำมนต์) 2 เหรียญ
เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ

พระวัดบวรนิเวศวิหาร องค์อื่นๆ

(พระกริ่ง ดูที่ พระกริ่งองค์อื่นๆ)





วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

พระชัยบารมี พระผู้ทรงเมตตา

พระชัยบารมี พระผู้ทรงเมตตา


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อิติปิโสภะคะวา  พุทธัง  ชัยยะบารมีเมตตา
พรหมรังสีมหาเถโร  ลาภลาภัง  ภะวันตุเม
อิติปิโสภะคะวา  ธัมมัง  ชัยยะบารมีเมตตา
พรหมรังสีมหาเถโร  ลาภลาภัง  ภะวันตุเม
อิติปิโสภะคะวา  สังฆัง  ชัยยะบารมีเมตตา
พรหมรังสีมหาเถโร  ลาภลาภัง  ภะวันตุเม

พระพุทธองค์ผู้ทรงโชค พระชัยบารมี พร้อมด้วยพระธรรมและ
พระสงฆ์ กับทั้งท่านพรหมรังสีมหาเถระ ผู้มีชัยด้วยเมตตาธรรม 
ขอลาภสักการะน้อยใหญ่ จงพลันบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ด้วยเทอญ



พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่


 


วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อนุสรณ์ 128 ปีเนื้อทองคำ

พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อนุสรณ์ 128 ปีเนื้อทองคำ

 

พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อนุสรณ์ 128 ปีเนื้อทองคำ
สมเด็จพระสังฆราช  อธิษฐานจิต  เมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2543 
พิธีพุทธาภิเษก วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง 17 ธันวาคม 2543
วัดใหม่อัมตรส (วัดบางขุนพรหมใน)  28 ธันวาคม 2543


พระสมเด็จ วัดเกศไชโย (วัดไชโยวรวิหาร) พิมพ์อื่นๆ





พระปางซ่อนหา หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม เนื้อเมฆสิทธิ์

พระปางซ่อนหา หลวงพ่อทับ วัดอนงคาราม เนื้อเมฆสิทธิ์

 


วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระปิดตา หลวงปู่นาค วัดห้วยจรเข้ นครปฐม พิมพ์หูกระต่าย เนื้อเมฆพัด 2

พระปิดตา หลวงปู่นาค  วัดห้วยจรเข้ นครปฐม พิมพ์หูกระต่าย เนื้อเมฆพัด  


 

พระปิดตาเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่นาค วัดห้วยจรเข้  พระพุทธคุณเรืองโรจน์ด้วยคงกระพันมหาอุด มหาโชค มหาลาภ กล่าวกันว่า ผู้ใดได้พกพาบูชาพระปิดตาหลวงปู่นาคจะรอดพ้นพิบัติภัย ไม่มีอันตรายกรายกล้ำ เปี่ยมด้วยเมตตามหานิยม เป็นที่เลื่องลือนับถือของผู้คนในสมัยนั้นจวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่นาคเป็นพระภิกษุในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระเถระทำหน้าที่พิทักษ์องค์พระปฐมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งหลวงปู่นาคได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรประจำทิศที่ "พระครูอาจิณทิศบริหาร" 

การสร้างพระปิดตาของหลวงปู่นาคในช่วงแรกๆประมาณ พ.ศ. 2435 ยังไม่มีแบบพิมพ์แน่นอน ใช้วิธีปั้นหุ่นพิมพ์ทีละองค์แล้วเทหล่ออกมา เป็นพระปิดตาแบบลอยองค์ มีทั้งเนื้อเมฆพัด สัมฤทธิ์ ตะกั่ว ชินเขียว ต่อมาภายหลังจึงปรากฏพิมพ์มาตรฐานที่เช่าบูชาในราคาสูง แบ่งเป็น 2 พิมพ์คือ "พิมพ์หูกระต่าย (ท้องแฟบ) เนื้อเมฆพัด และพิมพ์สะดือจุ่น (ท้องป่อง) เนื้อเมฆพัด"


พระหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ พิมพ์เข่ากว้าง หลังเต็ม 2

พระหลวงพ่อพรหม "ถาวโร" วัดช่องแค นครสวรรค์  ๒ ปี 2516


 

พระหลวงพ่อพรหม "ถาวโร" วัดช่องแค นครสวรรค์ พิมพ์เข่ากว้าง หลังเต็ม "เนื้อทองระฆัง" จำนวนที่สร้างพิมพ์เข่ากว้าง เนื้อเต็มทั้งหมดมีประมาณ 8,000 กว่าองค์ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 2 องค์ เนื้อเงิน 29 องค์ เนื้อทองระฆัง 2,000 องค์ เนื้อทองแดง 5,000 องค์ และเนื้อตะกั่ว 1,000 องค์

พระหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค พิมพ์อื่นๆ





วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระผงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รุ่น 2

พระผงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รุ่น 2

 



พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง อยุธยา

พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง

 

พระหลวงพ่อโตมี 3 ชนิด คือ
1. ชนิดดินเผา  2. ชนิดผงขาว  3. ชนิดว่าน

ชนิดดินเผา เป็นรูปพระพุทธเจ้าปางสมาธิ ประทับนั่งบนบัลลังค์ 2 ชั้น พระเกศตุ้ม พระเศียรกลมนูนโหนก พระพาหาโค้ง มีรอยหักตรงพระกัปประ พระอ้งสาเสมอกัน พระเพลามีความยาวเท่าๆกับฐานซึ่งมีความกว้างประมาณ 3.2 ซม. และส่วนสูงประมาณ 4 ซม. ความหนาของฐานด้านหน้าถึงด้านหลังประมาณ 1.2 ซม. ด้านหลังแบนเรียบ บางองค์มีรอยกาบหมาก พระเครื่องชนิดดินเผานี้เป็นรูปพระพุทธเจ้าปางมารวิชัยก็มี 

พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง พิมพ์อื่นๆ






วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระกริ่ง ฉลองสุพรรณบัตร สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร 17 ก.ย. 2553

พระกริ่ง ฉลองสุพรรณบัตร สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร 17 ก.ย. 2553

 



พระวัดบวรนิเวศวิหาร องค์อื่นๆ

(พระกริ่ง ดูที่ พระกริ่งองค์อื่นๆ)