วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564

พระชัยบารมี รูปภาพ และ ล็อคเก็ตพระชัยบารมี โดย ท่านอาจารย์ พ.ต.ท.เขียว บารมี

 


 

พระชัยบารมี รูปภาพ และ ล็อคเก็ตพระชัยบารมี โดย ท่านอาจารย์ พ.ต.ท.เขียว บารมี

พุทธคุณ ครอบจักรวาล ดีทุกด้าน แล้วแต่จะอธิษฐานใช้ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ดีนักแล

คุณพิชชานันท์ เปงยาวงษ์ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้จัดการโรงแรม ด้านบริการลูกค้าดูแลแขกที่มาพัก ทางโรงแรมได้เข้าร่วมกับทางราชการเป็นสถานที่เก็บตัวดูอาการของนักท่องเที่ยว ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ก่อนหน้านี้มีแขกที่มาพักเก็บตัวตรวจพบเชื้อมีเลือดเป็นบวก ทางโรงแรมจึงได้ทำความสะอาดทั้งโรงแรม และส่งบุคคลากรของโรงแรมไปตรวจด้วยเช่นกัน คุณพิชชานันท์เล่าให้ฟังว่า ตัวเขาเองได้สวมสร้อยคอล็อคเก็ตพระชัยบารมีองค์เดียว ท่องภาวนาคำว่า “พระชัยบารมี” ตลอดเวลาเป็นปกติ ในช่วงเวลาทำงานอยู่แล้ว และภาวนาขณะที่รอเข้าตรวจเชื้อโควิด-19 เพราะเกรงว่าหากตรวจพบเชื่อโควิด-19 จะต้องถูกพักงาน จึงภาวนาโดยตลอด จนกระทั่งวันที่ผลตรวจออกมาว่า “ไม่พบเชื้อ” เขาเล่าว่า รู้สึกโล่งอก ตื้นตันใจมาก จนน้ำตาไหล



 



 

 



 

 


ทางเลือกใหม่ในการบำบัดโรค covid-19 กรุณาส่งต่อไปให้ถึงผู้ที่เจ็บป่วยไข้ จะมีผลานิสงส์มาก เทียบได้กับการสร้างพระพุทธรูปขนาดองค์พระประธาน…

สำหรับผู้ป่วยท่านใดที่มีหนทางในการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลอยู่แล้วก็ขอให้ดำเนินต่อไป หรือข้ามไปก็ได้ สำหรับผู้ที่ไม่มีหนทางเลือกอื่นใด เนื่องมาจากเตียงของสถานพยาบาลต่างๆยังมีไม่เพียงพอ ต้องรอคอยเตียงอยู่ที่บ้านและไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานอีกเท่าใด ขอแนะนำทางเลือกใหม่ ใช้เวลาช่วงที่รอคอยนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันนี้แนวทางการรักษาเป็นการรักษาทางกายภาพ โดยใช้ยาจากต่างประเทศและยาในประเทศ ทางเลือกใหม่นี้เป็นการรักษาโดยใช้วิธี “จิตบำบัด” โดยการอัญเชิญความศักดิ์สิทธิ์จากองค์พระชัยบารมี เป็นพระพุทธรูปทองคำของท่านอาจารย์ พ.ต.ท. เขียว บารมี ซึ่งเคยใช้วิชาจิตบำบัดนี้บำบัดโรคยาเสพติด และสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยยาเสพติดประสบผลสำเร็จมาแล้ว ณ เวลานี้ท่านอาจารย์เขียวได้ขออนุญาตขอพรจากพระชัยบารมีให้ใช้คำภาวนาว่า “พระชัยบารมี” ในการบำบัดโรคโควิด-19 พระชัยบารมีท่านจะนำเอาจิตวิญญาณหรือไวรัสโควิด-19ทั้งหมด ออกจากสังขารร่างกายของผู้ภาวนา เกิดผลทันตาเห็น ทันใจเห็น สำหรับท่านที่ปกติ เมื่อภาวนาแล้วจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน จิตวิญญาณของโรคโควิด-19 จะไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายของผู้ภาวนาได้ มีบุคคลที่ได้ใช้วิธีจิตบำบัดกับพระชัยบารมี เมื่อตรวจผลอย่างเป็นทางการแล้ว ไม่พบเชื้อ covid-19 แต่อย่างใด โปรดติดตามรายละเอียดได้จากประวัติพระชัยบารมี ตอนที่ 41 ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

หากท่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ท่านอาจารย์ พ.ต.ท. เขียว บารมีโทรศัพท์ 081 836 7787

ประวัติพระชัยบารมี ตอนที่ 41 จิตบำบัด และ โรคโควิด-19

https://phrachaibaramee.blogspot.com/2021/04/41-19.html




วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พระพุทธชินราช ภปร. โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือแผ่นดินเกิด” ปี2548 เนื้อสามกษัตริย์ ขนาด ½ นิ้ว


 

พระพุทธชินราช ภปร. โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือแผ่นดินเกิด” ปี2548 เนื้อสามกษัตริย์ ขนาด ½ นิ้ว 

พระพุทธชินราช ภปร.ลอยองค์เนื้อทองคำ 1/2 นิ้ว พิมพ์ใหญ่ ปี2548 “เพราะแผ่นดินนี้ คือแผ่นดินเกิด” รุ่นแรกนิยมมาก สภาพองค์พระ สวยสมบูรณ์แบบ มาพร้อมกล่อง

ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ประดิษฐานพระปรมาภิไธย ภปร. บนผ้าทิพย์ พร้อมทั้งนำผงจิตรลดาและพระเบญจภาคี มาร่วมใช้ในการจัดสร้าง

ใต้ฐานองค์พระทุกองค์บรรจุ ผสมมวลสารเบญจภาคี สมเด็จจิตรดา และเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ในหลวง รุ่นนี้จัดว่าเป็นรุ่นแรก สวยงามมาก หายากมาก รุ่นนี้สร้างด้วยเนื้อทองคำ นาค และเงิน 

ดำเนินการจัดสร้างโดย มูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฏราชกุมาร  แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ประกอบพิธีมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)และพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (จังหวัดพิษณุโลก)ในเดือนธันวาคม 2548

ขนาดองค์พระ กว้าง 2.7 ซม. สูง 3.6 ซม.

ในการจัดสร้างฯ ครั้งนี้ มีส่วนผสมอันได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งได้รับสมญานามว่าเป็น "ราชาแห่งพระเครื่อง" พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พระกำแพงซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร พระรอดแห่งวัดมหาวัน จ.ลำพูน และพระผงสุพรรณแห่งวัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี จึงนับได้ว่าการจัดสร้าง "พระพุทธชิราช" (จำลอง) ในครั้งนี้ มีความพิเศษยิ่งกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นการรวมสุดยอดสิ่งอันเป็น มงคลและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของไทย ได้แก่ "ผงจิตรลดา" และ "พระเบญจภาคี" เข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พระผงชินราช" ที่จัดสร้างในครั้งนี้ มีลักษณะงดงามเป็นพิเศษด้วยการจัดสร้างอย่างพิถีพิถัน ทั้งจากความวิจิตรปราณีตในการแกะสลักองค์ "พระพุทธชินราช" (จำลอง)ในลักษณะนูนสูง รวมถึงการบรรจงปัดทองลงบนองค์พระฯ จนเหลืองอร่ามทั้งองค์ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. งดงามล้ำค่าในลักษณะงานจิวเวลรี่ 3 รูปแบบคือ แบบทองคำแท้ แบบเงิน และแบบทองแดง (หมายเหตุ: พระผงชินราชแบบทองคำแท้ และแบบเงิน มีหมายเลขกำกับทุกองค์)

ผงจิตรลดา นับเป็นยอดยิ่งแห่งวัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาอย่างลึกซึ้งในพระพุทธศาสนา ด้วยเครื่องผสมอันเป็นของสูงตามตำราโบราณ อาทิ ดินจากปูชนียสถาน เปลว ทองคำ พระพุทธรูป ผงธูปหน้าแท่นบูชาจากปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักร อาทิ หน้าแท่นบูชาของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระพุทธโสธร ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร องค์ปฐมเจดีย์ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชพระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพระปรางค์วัดอรุณฯ และมวลสารส่วนพระองค์อันเนื่องมาจากการประกอบพิธี อาทิ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระฯ ตลอดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งที่ทรงคล้องพระมหาเศวตฉัตร และด้ามพระขรรค์ชัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล ตลอดจนสิ่งที่นับว่าสำคัญที่สุดอันประเมินค่ามิได้ คือ เส้นพระเจ้า (เส้นผม) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผสมอยู่ด้วย จึงกล่าวได้ว่า "ผงจิตรลดา " เป็นยอดยิ่งแห่งมวลสารที่เปี่ยมด้วย "พุทธคุณ และเมตตามหานิยม" อันเป็น ที่ตั้งสูงสุดของปวงชนชาวไทย จึงจัดเป็นพิธิใหญ่มากพระสภาพเดิมๆ คม ชัด ลึก สวยทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ศิลปสวยงาม

พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม ค้าขายกำไรดี เลื่อนชั้น เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง อธิษฐานพระทำน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ดีนักแล



วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

แท่นบดยาโบราณ อายุประมาณ 2,000 ปี

 


แท่นบดยาโบราณ อายุประมาณ 2,000 ปี

แท่นบดยาโบราณ มีอายุประมาณ 2,000 ปีสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 5-6 เมื่อประมาณปีพ.ศ. 500-600 น่าจะมีอายุใกล้เคียงกับเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอารยธรรมร่วมสมัยระหว่างศาสนาพราหมณ์กับศาสนาพุทธ แท่นบดยานี้มีด้วยกันทั้งหมด 12 แท่น ตามหลักนักษัตร แท่นนี้เป็น 1 ใน 12 แท่น เป็นนักษัตรปีกุน แต่ละนักษัตรจะมีพระเจ้าปู่ฤาษีเป็นตัวแทนของแต่ละนักษัตรรวม 12 พระองค์ ได้ร่วมกันทำพิธีประสิทธิพุทธาภิเษก ตามแนวทางของศาสนาพุทธ แท่นบดยานี้จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของการบำบัดรักษา ขจัดโรคภัยต่างๆ แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานแต่พลังบารมีของพระเจ้าปู่ฤาษีทั้ง 12 พระองค์ที่ได้ประสิทธิไว้ ยังคงเข้มแข็งศักดิ์สิทธิ์เช่นเดิม มิเสื่อมคลาย ผู้ใดเจ็บป่วยไข้ ได้มาสักการะ และจับแท่นบดยาอธิษฐาน จะเกิดอาการขนลุกขนพอง ด้วยอำนาจแห่งตบะ เดชะ พลังบุญฤทธิ์ของพระเจ้าปู่ฤาษีทั้ง 12 พระองค์จะแทรกเข้ามาสู่สังขารร่างกายของผู้ที่ได้จับแท่นบดยานี้ มาประสิทธิ์ประสาทบำบัด ขจัดปัดเป่าให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอัศจรรย์ ดีนักแล

ตัวแท่นบดยานี้ได้ทำขึ้นจากการนำเอาส่วนผสมของดินขาว ทรายทอง หินแร่เงิน หินแร่ทอง และหินแร่ดีบุก นำมาป่นให้ละเอียด คลุกเคล้าเข้าด้วยกันทั้งหมด ผสมด้วยน้ำแล้วปั้นขึ้นเป็นรูปแท่นบดยา ตากแดดไว้จนแห้งสนิท เมื่อเอาแว่นขยายส่องขยายดู จะเห็นเนื้อเป็นประกายคล้ายเม็ดแร่เงินเม็ดแร่ทองแทรกอยู่

 

 

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปางไสยาสน์ กรุพระเจดีย์สามองค์

 



พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปางไสยาสน์ กรุพระเจดีย์สามองค์

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปางไสยาสน์ กรุพระเจดีย์สามองค์ จำลองมาจากปางไสยาสน์วัดสะตือ จังหวัดอยุธยา เป็นพระสมเด็จที่สร้างในยุคแรก ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2379  ซึ่งพระส่วนใหญ่ในยุคต้นจะเก็บบรรจุไว้ภายในเจดีย์สามองค์ วัดระฆังฯ

ขณะนั้นท่านขรัวโต ดำรงสมณศักดิ์เป็น “พระปริยัติธรรม” ปลุกเสกเดี่ยว มีพุทธคุณเด่น ทางเมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย เลื่อนยศ เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน ดีนักแล

ประวัติการสร้างพระสมเด็จ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )

การสร้างพระสมเด็จแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้

ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3

ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394)

ยุคกลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4

ตั้งแต่ พ.ศ. 2394 –2411 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394 - 2411)

ยุคปลาย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5

ตั้งแต่ พ.ศ. 2412 –2414 (ครองราชย์ พ.ศ. 2411 - 2453)


มีรายละเอียดการสร้างพระพิมพ์ หรือพระสมเด็จ ดังนี้

ยุคต้น ในรัชกาชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 )

1. ปี พ.ศ. 2348 สร้างที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ เป็น “พระครูโต”

2. ปี พ.ศ. 2378 สร้างเป็นที่ระลึกในการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระปริยัติธรรม”

3. ปี พ.ศ. 2379 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธไสยาสน์

4. ปี พ.ศ. 2381 สร้างเป็นที่ระลึกให้งานทำบุญครบ 51 ปี ขณะดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ พระปริยัติธรรม

5. ปี พ.ศ. 2386 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชปัญญาภรณ์”

6. ปี พ.ศ. 2387 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินบำรุงวัดระฆัง

7. ปี พ.ศ. 2390 สร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญครบรอบ 60 ปี เป็นที่ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก”

ซึ่งการสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และหลายพิมพ์ทรง เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูน พิมพ์ใหญ่ไม่มีเส้นกรอบกระจก หรือเส้นบังคับพิมพ์

ยุคกลาง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

1. ปี พ.ศ. 2394 สร้างให้โยมพระบิดามารดา เพื่อแทนคุณ ขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมกิตติโสภณ” เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์

2. ปี พ.ศ. 2399 สร้างเป็นที่ระลึกในงานสร้างพระบูชา นามว่า “พระหาพุธพิม”

3. ปี พ.ศ. 2407 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

4. ปี พ.ศ. 2409 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เริ่มสร้างที่จำนวน 84,000 องค์ตามเจตนารมณ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยแม่พิมพ์ของช่างทองหลวง “หลวงวิจารณ์เจียรนัย”

5. ปี พ.ศ. 2411 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพิมพ์ใหญ่อกวี

ยุคปลาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

1. ปี พ.ศ. 2412 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย

2. ปี พ.ศ. 2414 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ลงรักปิดทอง) สร้างถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว